ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
เกณฑ์ข้อที่ |
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2555 |
1 |
มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพของหลักสูตรในระดับคณะแพทยศาสตร์ สำหรับรายวิชาของภาควิชาฯ มีคณะกรรมการฝ่ายวิชาการทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนจะมีการประชุมปรึกษาหารือในระหว่างการประชุมภาควิชาฯ เพื่อวานแผนดำเนินงาน ติดตามและแก้ไขปัญหาของนิสิต มีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนิสิตผ่านระบบ CU-CAS นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้นิสิตได้ประเมินกิจกรรมการเรียนการสอนและปัยจัยเกื้อหนุนต่างๆ ที่ภาควิชาฯ จัดให้โดยแบบประเมิน Online ผ่าน Website ภาควิชาฯ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
|
|
2 |
ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีการจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชา โดยใช้ระบบ CU-CAS มีรายละเอียดของรายวิชา รวมทั้งแผนการสอนของทุกรายวิชาก่อนการเปิดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งอยู่ในประมวลรายวิชาตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีการส่งนิสิตแพทย์หมุนเวียนไปหาประสบการณ์ยังโรงพยาบาลเครือข่าย หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีการการจัดทำ มคอ.2 ของหลักสูตร และประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชาของหลักสูตร ด้วย CU-CAS |
|
3 |
ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถค้นคว้าหรือศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนของภาควิชาฯ ในส่วนของรายวิชาทักษะทางออร์โธปิดิกส์ เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยภายใต้การดูแลของอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย และการศึกษาเพิ่มเติมจากตำรา ตลอดจนแหล่งความรู้ต่างๆ สำหรับรายวิชาทางด้านทฤษฎีออร์โธปิดิกส์ ให้นิสิตได้ทำรายงานและอภิปรายปัญหาของผู้ป่วย เป็นการกระตุ้นให้นิสิตจำเป็นต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลด้วนตนเองก่อนจะมาอภิปรายในห้องเรียน โดยมีอาจารย์เป็นผู้กำกับและให้คำแนะนำ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีการจัดทำ Log Book เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียน, ส่งเสริมงานด้านวิจัยของหลักสูตร ป.ชั้นสูง มีรายวิชาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและการทำวิจัย ได้แก่ โครงการพิเศษ 1 และ 2 (รหัสรายวิชา 3016718 จำนวน 3 หน่วยกิต 3016719 จำนวน 3 หน่วยกิตมีการจัดส่งแพทย์ประจำบ้านไปเรียนรู้นอกสถานศึกษา เช่น โรงพยาบาลสิรินธรฯ โรงพยาบาลเจริญกรุงฯ โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา |
|
4 |
มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในรายวิชาออร์โธปิดิกส์ ได้จัดนิสิตให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในชุมชุน โดยส่งนิสิตไปหมุนเวียนยังโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อให้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล โดยมีแพทย์ผู้มีประสบการณ์จากโรงพยาบาลภายนอกให้ความรู้และช่วยแนะนำ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีกาจัดฝึกปฏิบัติการจากอาจารย์ใหญ่ (Cadaver Workshop) โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศเป็นวิทยากร มีการหมุนเวียนไปปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลเครือข่าย ทำให้สามารถได้รับประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตร |
|
5 |
มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฯ มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากกระบวนการจัดการความรู้ โดยการสอนที่หอผู้ป่วย และหอผู้ป่วยนอก ใช้ข้อมูลจากส่วนกลาง คณะแพทยศาสตร์ นำผลการประเมินของนิสิตนำไปใช้ในการประเมินคุณภาพของภาควิชาฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอน ต่อไป หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชาฯ จัดกิจกรรมวิชาการในแขนงย่อยต่างๆ โดยระบุวัน เวลา ชัดเจน และยังมี Dinner’s Talk เพื่อเป็นช่วงเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชาและสถาบันภายนอก เช่น Chula-Lerdsin Conference ทุกๆ วันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน |
|
6 |
มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เนื่องจากรายวิชาระดับแพทยศาสตร์บัณฑิตเป็นหลักสูตรร่วม มีการเรียนการสอนในหลายภาควิชาวิชา การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา จึงดำเนินสำรวจโดยใช้แบบ สอบถามของฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ เป็นประจำทุกการศึกษา หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชาฯ ใช้แบบประเมิน Online ผ่านระบบ CU-CAS ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนและการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2555 ของหน่วยวิจัยสถาบัน พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เท่ากับ 3.67 จากคะแนนเต็ม 5 |
|
7 |
มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชา ตามผลการประเมินรายวิชา |
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฯ ได้นำผลการประเมินรายวิชา มีการปรับปรุงการเรียนการสอนของนิสิต โดยมุ่งเน้นหัวข้อที่นิสิตมีความต้องการ เช่น
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชาฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน ปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ทั้งในด้านทรัพยากรและบุคคล มีการจัดการประชุมสัมมนาหลักสูตร ครั้งที่ 1 วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2554 และครั้งที่ 2 วันที่ 25 มกราคม 2555 ภาควิชาฯ มีการนำผลการประเมินการเรียนการสอนของทุกรายวิชาในปีการศึกษาที่ผ่านมามาพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2555 โดยระบุในประมวลรายวิชาข้อ 19.2 และได้แผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขา ออร์โธปิดิกส์ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรดังกล่าว |
หลักฐานอ้างอิง