ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

เกณฑ์ข้อที่

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2555

1

มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน

 

ภาควิชาฯ มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบันโดยใช้แบบสำรวจความต้องการของบริษัทเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้ได้หัวข้อและความต้องการขั้นพื้นฐานของภาคเอกชนที่จะนำมาดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)

2

มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ

 

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ ดังนี้

  • เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Cadaver Workshop) ร่วมกับภาคเอกชน
  • การประชุมวิชาการร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
  • การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับสถาบันในประเทศและต่างประเทศ
  • โครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ กับหน่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล Khanh Hoa สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2556

3

มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม

 

ภาควิชาฯ มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม จากข้อมูลการประเมินที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ภาควิชาฯ จัดขึ้นหรือร่วมจัดกับภาคเอกชน การประเมินที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีแบบสอบถาม และการประเมินที่ได้จากการสังเกต อย่างไรก็ตามจากการประเมินในทุกกิจกรรมจะนำเข้าเสนอและสรุปให้กับคณะกรรมการภาควิชาฯ ได้รับทราบ เพื่อนำผลมาปรับใช้ในการดำเนินการของกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม ต่อไป

4

มีการนำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ

 

ภาควิชาฯ ได้นำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ พัฒนารูปแบบและเนื้อหาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ผลจากการประเมินในข้อ 3 จะถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้บริการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการเรียนการสอนของแพทย์ประจำบ้าน นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด เป็นต้น

5

มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน

 

ภาควิชาฯ ได้พัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในภาควิชาฯ และเผยแพร่สู่สาธารณชน เช่น

  • จัดทำ Website ภาควิชาฯ ซึ่งประกอบด้วย ความรู้สู่ประชาชน ความรู้สำหรับแพทย์ออร์โธปิดิกส์ นิสิตแพทย์
  • Website เฉพาะสาขาวิชา เช่น www.orthochula.com เผยแพร่โรคทางข้อเข่าข้อสะโพก , www.spinecenter.com เผยแพร่โรคทางกระดูกสันหลัง
  • จัดทำหนังสือและตำรา โดยคณาจารย์ภาควิชาฯ เช่น
    • กระดูกหักและข้อเคลื่อน ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
    • Biomechanics of Spine Stabilizationผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
    • โรคเด็กสมองพิการ ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
    • โรคเท้าในเด็ก ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
    • จุลศัลยกรรมทางออร์โธปิดิกส์ ผู้แต่ง ศ.นพ.อดิศร ภัทราดุล
    • เทคนิกการเจาะใส่ Pedicla สกรู ผู้แต่ง ศ.นพ.ประกิต เทียนบุญ
    • การผ่าตัด Minimary Investive Surgery Totel Knee Arthroplasty ผู้แต่ง ศ.นพ.อารี ตนาวลี

ซึ่งนับว่าเป็นการทำ Knowledge Management ในรูปแบบต่างๆ สำหรับการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน

หลักฐานอ้างอิง

5.2-5.1     Website ภาควิชาฯ

5.2-5.2     Website เฉพาะสาขาวิชา เช่น www.orthochula.com , www.spinecenter.com