ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 : ระบบบริหารความเสี่ยง

เกณฑ์ข้อที่

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2555

1

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน

 

ภาควิชาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีหัวหน้าฝ่ายวิชาการเป็นประธานที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของภาควิชา ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยใหคณะอนุกรรมการมีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้

  1. รวบรวม/วิเคราะห์/ระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ต่อไปนี้
    1. ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)
    2. ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์
    3. ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
    5. ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
  2. จัดลําดับความเสี่ยงที่ไดจากการวิเคราะห
  3. เสนอมาตรการจัดการความเสี่ยง และการจัดการควบคุมภายใน
  4. นำนโยบายการดำเนินการบริหารความเสี่ยงสู่การปฏิบัติ
  5. ติดตามปญหาอุปสรรค แนวทางแกไข และขอเสนอแนะปรับปรุง รวมถึงประเมินผลการดําเนินงานตามแผน รายงานหัวหน้าภาควิชาฯ และคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ
  6. นําผลการประเมินและขอเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ ไปใชในการปรับแผนและวิเคราะหความเสี่ยงในรอบปถัดไป
  7. จัดทํารายงานการบริหารความเสี่ยงเสนอตอหัวหน้าภาควิชาฯและคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ
      

2

มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้

             - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)

             - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน

             - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

               - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย

             - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร 

             - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก             - อื่นๆ ตามบริบทของสถาบัน

 

คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่

  1. ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคาร สถานที่)
  2. ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
  3. ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

การรวบรวมปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ คณะอนุกรรมการจะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาประมาณ 2 ปีและสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจมีผลกระทบต่อการเรียนการสอน การบริการ คณะอนุกรรมการ ได้มีการวางแผนการแก้ไขปัญหา การติดตาม และประเมินผล แจ้งต่อที่คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ

 

3

มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2

 

ภาควิชาฯ มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงของภาควิชาฯ กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน กรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยงของภาควิชา

 

4

มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน

 

ภาควิชาฯ มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผนที่ได้รับการถ่ายทอดทั้งจากคณะแพทยศาสตร์ RMI โดยคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินงาน เมื่อมีปัญหาความเสี่ยงในระดับต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนและการบริการ ตลอดจนกำหนดวิธีการแก้ไขความเสี่ยงนั้นๆ ทั้งนี้ภาควิชาฯ ได้ประสานกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของคณะฯ เพื่อรับนโยบายหลักมาดำเนินการทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์




5

มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ เสนอรายงานต่อที่ประชุมภาควิชาฯ เช่น การประชุมภาควิชาฯ ครั้งที่ 1/2555 วันพุธที่ 29   กุมภาพันธ์   2555 เรื่อง ขอความร่วมมืออาจารย์เขียนใบสั่งยาให้ชัดเจน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย

 

6

มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป

 

ภาควิชาฯ ได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป เช่น มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงของภาควิชาฯ มีการจัดลำดับความเสี่ยง แผนบริหารความเสี่ยง การแก้ไขและการติดตามผล เป็นต้น

 

หลักฐานอ้างอิง