ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 : ภาวะผู้นำของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน

เกณฑ์ข้อที่

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2555

1

สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้า

 

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์มีการประชุมคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ เพื่อให้งานบริหารภาควิชาฯ ภายใต้กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งประกาศของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อย่างเคร่งครัด

คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีการประชุมประมาณวันพุธที่ 2 ของเดือน ในปีการศึกษา 2555 มีการประชุมเกิดขึ้นทั้งหมด 5 ครั้ง และมีการประเมินตามตัวชี้วัดตามข้อตกลงภาระงานกับคณาจารย์ มีการประเมินผลงานตามข้อตกลงที่ได้นำเสนอไว้

2

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน

 

หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชากำหนดทิศทางการดำเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ            มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนำระบบสารสนเทศเป็นฐานในการสื่อสารข้อมูลและติดตามการปฏิบัติงาน มีการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา และเป็นไปในลักษณะสองทิศทางทั่วทั้งภาควิชาฯ โดยอาศัยช่องทาง

  1. การประชุมภาควิชาฯ ประจำเดือน
  2. การจัดสัมมนาบุคลากรทุกระดับในวันที่ วันศุกร์ที่ 24 – วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555 โรงแรมโนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ จังหวัดชุมพร ซึ่งใช้เป็นช่องทางการสื่อสารยุทธศาสตร์จากคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ สู่บุคลากรทุกคน
  3. Website ภาควิชา
  4. E-mail บุคลากรของภาควิชาฯ

3

ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน

 

หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนและผลการดำเนินงานของภาควิชาฯ ไปยังบุคลากรในภาควิชาฯ โดยการประชุมภาควิชาฯ แล้วนำเรื่องเข้าที่ประชุมอาจารย์ตามวาระ ซึ่งจะมีการประชุมทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายต่างๆ จะแจ้งผลการดำเนินกิจกรรม หรือหัวข้อเรื่องจากการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ หรือมีการขอมติที่ประชุมในวาระสำคัญๆ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ นอกจากนี้การสื่อสารไปยังบุคลากรในภาควิชาฯ ในกรณีมีเรื่องเร่งด่วนจะกระทำโดยการส่ง SMS หรือโทรศัพท์มือถือ หากในกรณีไม่เร่งด่วนจะแจ้งโดยส่ง Email ภาควิชา คือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

4

ผู้บริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม

 

บุคลากรในภาควิชาฯ มีส่วนร่วมในการบริหารภาควิชาโดยเป็นคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ และยังเป็นอนุกรรมการของฝ่ายต่างๆ ในภาควิชาโดยตรง เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัย ประกันคุณภาพการศึกษา การบริการ โดยคณาจารย์ที่รับผิดชอบในฝ่ายต่างๆ มีอำนาจในการดำเนินการในเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบอย่างเต็มที่แล้วเสนอกรรมการบริหารภาควิชาฯ เพื่อทราบ

5

ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันเต็ม

ตามศักยภาพ

 

หัวหน้าภาควิชาฯ และคณะกรรมการบริหารส่งเสริมในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาผู้ร่วมงาน เพื่อให้สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ของภาควิชาฯ อย่างเต็มตามศักยภาพ เช่น

  • ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ กับหน่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล Khanh Hoa สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2556
  • ส่งเจ้าหน้าที่เข้าอบรมเรื่อง Standard Course in Clinical Trials 2013 ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีสมรรถนะในการวิเคราะห์หลากหลายกว่าโปรแกรม SPSS เพื่อมาช่วยงานวิจัยของภาควิชาฯ ทั้งส่วนอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน
  • ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรม เรื่อง เลขานุการยุคใหม่กับบทบาทผู้ช่วยผู้บริหาร วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6

ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

หัวหน้าภาควิชาได้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการของภาควิชา โดยมีหลักการ กลไล/กระบวนการ และตัวอย่างผลการดำเนินการดังนี้

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยเป็นบุคคลเดียวกัน (หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าฝ่าย) โดยมีคณะกรรมการบริหารภาควิชาและฝ่ายชุดเดียวกัน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ และส่งเสริมคณาจารย์ บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารภาควิชา/ฝ่ายฯ เพื่อประโยชน์สูงสุด ดังนี้

หลักธรรมาภิบาล

กลไก/กระบวนการ

ตัวอย่างผลการดำเนินการ

1. หลักประสิทธิผล

2. หลักประสิทธิภาพ

3. หลักการตอบสนอง

4. หลักภาระรับผิดชอบ

5. หลักความโปร่งใส

6. หลักการมีส่วนร่วม

7. หลักการกระจายอำนาจ

8. หลักนิติธรรม

9. หลักความเสมอภาค

10. หลักความมุ่งเน้นฉันทามติ

1. ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนโดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

2. การบริหารราชการตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

3. การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

4. การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

5. กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

6. กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือ ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา

7. การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

8. การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับใน           การบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

9. การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

10. การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดยฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์

1. แผนงานหลักหลักสูตรปรับปรุงเป็นไปตามกำหนดเวลา

2. ออกคำสั่งและประกาศต่างๆ เพื่อเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

3. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามความต้องการของภาคเอกชนและสังคม

4. รับผิดชอบต่อผลงานหรือกิจกรรมของภาควิชาฯ ทุกกิจกรรม

5. ทุกเรื่องนำเข้าที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อคณะกรรมการทุกท่านสามารถพิจารณาให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระ

6. จัดทำ Web broad เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนรับรู้ เรียนรู้ และร่วมแสดงทัศนะ

7. มีการถ่ายอำนาจการตัดสินใจโดยการประชุมภาควิชาฯ การสัมมนาภาควิชา เป็นประจำทุกปี

8. ข้อกฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานภาควิชาฯด้วยความเป็นธรรม เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทุนสำหรับแพทย์ประจำบ้านดีเด่น

9. มอบหมายงานด้วยความเสมอภาคแก่คณาจารย์ตามความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล

10. มีการลงมติในที่ประชุมภาควิชาฯ โดยยึดถือเสียงข้างมากเป็นข้อตกลง

7

สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารงานอย่าง

เป็นรูปธรรม

 

มีการประเมินผู้บริหารของภาควิชาฯ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและความสบายใจในการประเมินผู้บริหาร ภาควิชาฯ จึงจัดทำแบบสำรวจแบบประเมินด้านการบริหารและความพึงพอใจต่องานผ่าน Website ภาควิชาฯ และนำผลการประเมินเข้าที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับปีการศึกษา 2555 ไม่มีผู้ประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหารภาควิชาฯ

หลักฐานอ้างอิง

7.1-2.4     Website ภาควิชาฯ

7.1-3.1     E-mail ภาควิชาฯ เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคลากรในภาควิชาฯ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.