ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

เกณฑ์ข้อที่

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2555

1

มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

          ฝ่ายวิชาการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ “ร่าง” หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554) ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (มคอ.2) ตามระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงตามแนวทางที่กำหนดโดยคณะกรรมการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด ซึ่งฝ่ายวิชาการได้นำเสนอ “ร่าง” หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง 2554) (มคอ.2) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 13/2554 วันที่ 5 สิงหาคม 2554 ที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงสร้างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

          ต่อจากนั้นฝ่ายวิชาการได้ดำเนินการจัดส่งเอกสารขออนุมัติหลักสูตรปรับปรุง ไปยังมหาวิทยาลัยตามขั้นตอนดังนี้

          1.   คณะ/หน่วยงานส่งเอกสารไปยังสำนักบริหารแผนและการคลัง

          2.   ส่วนแผนงานและโครงการ สำนักบริหารแผนและการคลังดำเนินการส่งเอกสารและสรุปข้อมูลด้านทรัพยากรให้สำนักบริหารวิชาการ

          3.   ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการดำเนินการรายละเอียด และแจ้งคณะ/หน่วยงานปรับแก้ไข

แล้วนำเสนอคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณา เสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารายวิชาเปิดใหม่ แล้วแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งส่งร่างหลักสูตรให้คณะฯ/หน่วยงานปรับแก้ไข

          4.   คณะ/หน่วยงานจัดทำเอกสารส่งให้ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ คือ หลักสูตรฉบับสมบูรณ์

แบบรายงานข้อมูลการพิจารณารายละเอียดของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี (มคอ.2) และแบบเสนอเปิดรายวิชาและ/หรือแบบเสนอแก้ไขรายละเอียดรายวิชาทุกรายวิชา

          5.   ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ นำหลักสูตรเสนอที่ประชุมคณบดีเพื่อพิจารณาทักท้วงและเสนอสภามหาวิทยลัยเพื่อพิจารณาทักท้วง

          6. จัดทำบันทึกแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พร้อมจัดส่งเอกสาร/แผ่นบันทึกข้อมูล ได้แก่

                        6.1 เอกสารหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง

                        6.2 แบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร (มคอ.02)

                        6.3 แผ่นบันทึกรายละเอียดข้อมูลหลักสูตรฉบับปรับปรุง (CD/diskette)

                       6.4   จัดส่งสำเนาบันทึกตามข้อ 5.3 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส่วนแผนงานและโครงการสำนักบริหารแผนและการคลังเพื่อทราบ สำนักทะเบียนและประมวลผล และคณะ/หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักสูตร

          ฝ่ายวิชาการ ได้ดำเนินการผ่านทุกขั้นตอนตามที่กล่าวแล้วข้างต้น สำหรับการขออนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

(ที่ประชุมมหาวิทยาลัย ได้แก้ไขจากหลักสูตรปรับปรุง 2554 เป็น 2555 แทน) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) สำหรับการเปิดสอนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555 ได้ผลการอนุมัติดังนี้

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

          -   ได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 7/2554 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

          -   ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 743 วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

          -   แพทยสภา รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ในการประชุมครั้งที่ 8/2555 วันที่ 9 สิงหาคม 2555

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

         ภาควิชาใช้ระบบประกันคุณภาพหลักสูตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-CQA) และมีกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด มีคู่มือการเสนอหลักสูตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดขั้นตอนการเสนอหลักสูตรและรายวิชา ตามระบบของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นไปตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สกอ. และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.)ได้ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชา ออร์โธปิดิกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 สำหรับการเปิดสอนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2557 ได้ดำเนินการ ดังนี้

  • ส่ง ร่าง มคอ.2 ฉบับปรับปรุงหลักสูตร เสนอต่อมหาวิทยาลัย วันที่ 9 มีนาคม 2555
  • แก้ไข ร่าง มคอ.2 ฉบับปรับปรุงหลักสูตร วันที่ 3 มิถุนายน 2556

>>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-1.1 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-1.2  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-1.3

 

2

มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

 

มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการอุดมศึกษา (คู่มือการเสนอหลักสูตรจุฬาฯ) และดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยผ่านคณะกรรมการบริหารคณะฯ และสภามหาวิทยาลัยฯ และรับรองโดย คณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. คณะ/หน่วยงานส่งบันทึกแจ้งปิดหลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารคณะไปยังสำนักบริหารงานวิชาการ โดยคณะ/หน่วยงานต้องระบุภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่จะปิดหลักสูตร

2. ฝ่ายมาตรฐานหลักสูตร สำนักบริหารงานวิชาการ ดำเนินการ

2.1 ตรวจสอบข้อมูล

2.2 เสนอคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณา

2.3 เสนอคณะกรรมการนโยบายวิชาการพิจารณา

2.4 เสนอที่ประชุมคณบดีพิจารณาทักท้วง

2.5 เสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาทักท้วง

2.6 จัดทำบันทึกแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและจัดส่งสำเนาบันทึกให้คณะ/หน่วยงานเจ้าของหลักสูตรและสำนักงานการทะเบียนและประมวลผลเพื่อทราบและดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยผ่านคณะกรรมการบริหารคณะฯ และสภามหาวิทยาลัย แล้วให้ดำเนินการแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใน 30วันหลังจากที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

         ภาควิชาฯ มีขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติปิดหลักสูตร ตามเกณฑ์ของสำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นไปตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสกอ. มีคำอธิบายขอเปิดหลักสูตรใหม่ คู่มือการขอเปิดหลักสูตรใหม่ เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับคณาจารย์ในภาควิชาฯ

>>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-2.1  //   เอกสารอ้างอิง 2.1-2.2

 

3

ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนกรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย

(หมายเหตุ : สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา 2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 )

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

     -  หลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ภายใต้ระเบียบของมหาวิทยาลัย ทั้งระบบการจัดการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา การประกันคุณภาพหลักสูตร (ตามระบบ CU-CQA) และการพัฒนาหลักสูตร นอกจากนี้หลักสูตรยังมีเนื้อหาอิงตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2555 และเป็นไปตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2547

        -ฝ่ายวิชาการ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2554 เพื่อมีอำนาจหน้าที่การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์

     - มหาวิทยาลัย ได้เปิดระบบประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-CAS) ให้คณาจารย์เข้าดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อสร้างแบบประเมินผลการเรียนการสอนเตรียมให้นิสิตเข้าทำการประเมินในระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 20 พฤษภาคม 2555 นั้น ฝ่ายวิชาการ ซึ่งมีการบริหารหลักสูตร โดยมีประธาน Phase เป็นผู้ดูแล ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการผู้ดูแลแต่ละ Phase กรอกข้อมูล หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ให้เสร็จทันก่อนระบบจะเปิดให้นิสิตเข้าทำการประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ดังนี้

Phase

รายวิชาชั้นปีที่

เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกรอกข้อมูล

I

1

น.ส.เสาวรส เกียรตินาถ

II

2, 3

น.ส.ละอองดาว วาณิชย์เจริญ

III

4, 5

น.ส.ปาริฉัตร วัฒนสิรานนท์

IV

6

นางสุชีรา มุขจั่น

ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ ได้มีการประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากผลการประเมินโดยบัณฑิตที่จบการศึกษาทุกปี และข้อมูลการทำ focus group จากคณาจารย์ทั้งระดับปรีคลินิกและคลินิก รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากหน่วยวิจัยสถาบัน ข้อมูลที่ได้จะนำมาเป็นแนวทางในการสัมมนาเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรเป็นประจำทุกปี

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

     - หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ ใช้สอนปี พ.ศ.2554 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548

     - ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะใช้หลักสูตรนี้ในปีการศึกษา 2557

     - ภาควิชาฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน พ.ศ.2555 ณ วันที่ 1 มีนาคม 2555 มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแพทย์ประจำบ้านที่ศึกษาในหลักสูตร และประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน

     - มหาวิทยาลัย ได้เปิดระบบประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-CAS) ให้คณาจารย์เข้าดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อสร้างแบบประเมินผลการเรียนการสอนเตรียมให้นิสิตเข้าทำการประเมินในระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 20 พฤษภาคม 2555 นั้น ภาควิชาฯ ซึ่งมีการบริหารหลักสูตร โดยมีหัวหน้าภาควิชาฯ เป็นประธาน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เป็นรับผิดชอบ ดูแลการกรอกข้อมูล หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ให้เสร็จทันก่อนระบบจะเปิดให้นิสิตเข้าทำการประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ดังนี้

รหัสภาควิชา

ชื่อ-นามสกุล

E-mail

3016

นายสมชาย สุนทรส่ง

 

3016

น.ส.อารีย์ ฉิมกลิ่น

 

3016

นายปริญญา กิติดำรงสุข

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-3.1 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-3.2 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-3.3 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-3.4 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-3.5

4

มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐาน

หลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะแพทยศาสตร์มีระบบ และกลไกในการควบคุม กำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ/อนุกรรมการรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในปีการศึกษา 2554 ได้มีการเปลี่ยนคณะผู้บริหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ/อนุกรรมการ โดยผู้บริหารชุดใหม่ ดังต่อไปนี้

                — แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 โดยให้มีหน้าที่กำกับดูแลการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การจัดปัจจัยสนับสนุนการศึกษา การกำหนดสัมฤทธิผลของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

                — แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ตามช่วงชั้นต่างๆ เพื่อประสานงานและกำกับดูแลการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ประกอบด้วย

               -   คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ระยะที่ 1, ระยะที่ 2/1, และระยะที่ 2/2 แต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554

               -   คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ระยะที่ 3 (Phase III) แต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554

               -   คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ระยะที่ 4 (Phase IV) แต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

               -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชาต่างๆ ของแต่ละชั้นปี จำนวน 70 รายวิชา ดังนี้

                  -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 1           จำนวน 2 รายวิชา

                  -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 2           จำนวน 13 รายวิชา

                  -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 3           จำนวน 17 รายวิชา

                  -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 4           จำนวน 14 รายวิชา

                  -   คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 5           จำนวน 11 รายวิชา

                 - คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชา ชั้นปีที่ 6            จำนวน 13 รายวิชา

               ฝ่ายวิชาการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 และฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาควบคุมดูแลเรื่องการประกันคุณภาพหลักสูตรตามระบบ CU-CQA โดยได้ทำการประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545) (ปีการศึกษา 2552) และรับรองการประเมินเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เสนอต่อมหาวิทยาลัย (มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 2 รุ่น) นอกจากนี้ยังผ่านการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาโดย สกอ. สมศ. และ กสพท. ตามรอบระยะเวลาที่กำหนด

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

- มีคณะกรรมการรับผิดชอบและดูแลหลักสูตร และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

- ภาควิชาฯ มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุม กำกับหลักสูตรทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา มีการประเมินหลักสูตรตามระบบ CU-CQA

- ภาควิชาฯ มีคำสั่ง แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 ดังนี้                                       
1. ศ.นพ.อดิศร   ภัทราดูลย์
                       ประธานคณะกรรมการ                 
2. รศ.นพ.สมศักดิ์ คุปต์นิรัติศัยกุล             กรรมการ                                                                                                                    
3
. รศ.นพ.วัชระ      วิไลรัตน์                      กรรมการ                                                                                                          
4. รศ.นพ.วิชาญ    ยิ่งศักดิ์มงคล              กรรมการ                                                                                                      
5. อจ.นพ.นรา
       จารุวังสันติ                 กรรมการ                                                                                                      
6. อจ.นพ.สีหธัช      งามอุโฆษ                   กรรมการ                                                                                                      
7. อจ.นพ.กฤษณ์    เจริญลาภ  
                กรรมการและเลขานุการ

     โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแพทย์ประจำบ้านที่ศึกษาในหลักสูตร และประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน

- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ลงวันที่ มกราคม 2555

>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-4.1  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-4.2  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-4.3 

5

มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

         จากข้อ 4 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชาต่างๆ และคณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง (เอกสาร 2.1 – 5.1) พร้อมกันนี้ ฝ่ายวิชาการยังได้จัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารคณะฯ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร/รายวิชา คณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงตัวแทนนิสิตแพทย์ เพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็น/ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร/การเรียนการสอน เพื่อทบทวน วางแนวทาง และกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา สำหรับปรับกระบวนการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป

          แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการวัดผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาการวัดผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเตรียมการสัมมนาหลักสูตร ประจำปี 2555

        ฝ่ายวิชาการ สัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) เมื่อวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2555 ณ โรงแรมอามารี พัทยา จังหวัดชลบุรี ในประเด็นการประเมินภาพรวมของหลักสูตร ที่สำคัญ 3 ประเด็นคือ

                1.     การศึกษาแพทยศาสตร์กับประชาคมอาเซียน

                        -       ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับประเทศเพื่อนบ้าน

                        -       การพัฒนางานแพทยศาสตรศึกษาในระดับนานาชาติ

                        -       การรับนิสิตแพทย์นานาชาติ

                2.     การบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)

                        -       ภาพรวมของหลักสูตรแพยศาสตรบัณฑิต

                        -       การประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ (Learning outcomes & outcomes) ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

                        -       ปัญหาในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นปีที่ 1-3 (ปรีคลินิก) มาใช้ในการเรียนชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4-5)

                        -       ปัญหาในการเรียนรู้ในชั้นคลินิก (Clinical experience/competencies) (นิสิตปี 6)

                        -       สมรรถนะวิชาชีพในสถานการณ์ปัจจุบัน

                3.     นโยบายการตัดสินผลการศึกษา (การตัดเกรด) และแนวทางดำเนินการผลการสัมมนา

                        1.     การบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

                                1.1    ชั้นปรีคลินิก

                                         1.1.1     วิเคราะห์เกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ (Learning outcome) จำนวน 12outcome

                                         1.1.2     Mapping เกณฑ์แพทยสภา 2555 กับเนื้อหารายวิชาต่างๆ

                                         1.1.3     สามารถ time fame ของแนวทางบริหารรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

                                                      พ.ศ.2555

                                1.2    ชั้นคลินิก

                                         1.2.1     กำหนด Essential Clinical Competency ที่นิสิตทุกคนจะต้องทำได้ เมื่อผ่านการเรียนใน

                                                      แต่ละรายวิชา

                                         1.2.2     เลือกวิธีการและระยะเวลาที่เบาบางสมในการประเมิน Essential Clinical Competency

                                                      นั้นๆ

                                         1.2.3     กำหนดกลยุทธในการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่อง Emergency medicine and

                                                      primary care

                        2.     การตัดสินผลการเรียน

                                2.1    ผู้รับผิดชอบเรื่องการกำหนด MPL คือรายวิชา

                                2.2    ผ่านวิชาการจะดำเนินการจัดอบรมวิธีการกำหนด MPL และการให้เกรดที่คะแนนมากกว่าหรือเท่ากัน MPL หากรายวิชาใช้เกณฑ์ได้ที่นอกเหนือไปจากที่ฝ่ายวิชาการกำหนดไว้ให้ ทำรายงานแจ้งภาควิชา ฝ่ายวิชาการ คณะ ทราบตามลำดับ และฝ่ายวิชาการออกกำหนดกรอบเวลาสำหรับขั้นตอนการรายงานไว้ด้วย

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

- ภาควิชาฯ มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบหลักสูตรทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา      

- คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีการประชุมเพื่อกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 2 ครั้ง คือ วันที่ 20 มีนาคม 2555 และ 3 เมษายน 2555       ผลจากการประชุมคณะกรรมการ ได้ตารางกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นความต้องการของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งจะใช้ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป

- ภาควิชาฯ มีระบบ และกลไกในการควบคุม กำกับให้มีการดำเนินการพัฒนาการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจในการเรียน และการทำวิจัย โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสนับสนุนเงินทุนวิจัยแพทย์ประจำบ้าน (ซึ่งใช้เงินกองทุนวิจัยภาควิชาออร์โธปิดิกส์) เลขที่ 308 / 2555 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

- ภาควิชาฯ มีการจัดสัมมนาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด วันที่ 24 – 26 สิงหาคม 2555 โรงแรมโนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ จังหวัดชุมพร

>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-5.1  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-5.2  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-5.3 //  เอกสารอ้างอิง 2.1-5.4

 

6

มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1)

 

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

       N/A

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

     ภาควิชาฯ ร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรอนุมัติบัตรของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

>>  เอกสารอ้างอิง 2.1-6.1  //  เอกสารอ้างอิง 2.1-6.2 

7

 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1)

.....

8

 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรมากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1)

.....

ผลการประเมิน

ตัวบ่งชี้

เป้าหมาย * (ข้อ)

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

5

6

4

หมายเหตุ

       * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ข้อมูลสำหรับปีนี้

เป้าหมาย

R บรรลุเป้าหมาย            £ ไม่บรรลุเป้าหมาย

 

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว

5

เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว

5

ข้อมูลสำหรับปีหน้า

เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ)

6

หลักฐานอ้างอิง

2.1-1.1  แผนภูมิขั้นตอนการขอเปิดหลักสูตรใหม่  

2.1-1.2  มคอ.2 ฉบับปรับปรุงหลักสูตร เสนอต่อมหาวิทยาลัย วันที่ 9 มีนาคม 2555    

2.1-1.3 แก้ไข ร่าง มคอ.2 ฉบับปรับปรุงหลักสูตร วันที่ 3 มิถุนายน 2556

2.1-2.1  คำอธิบายขอเปิดหลักสูตรใหม่    

2.1-2.2 คุ่มือการขอเปิดหลักสูตรใหม่       

2.1-3.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ พ.ศ.2554    

2.1-3.2  มคอ.2  

2.1-3.3  แต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน พ.ศ.2555 ณ วันที่ 1 มีนาคม 2555  

2.1-3.4  บันทึกผู้รับผิดชอบ ดูแลการกรอกข้อมูล CU-CAS หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา

2.1-3.5 แบบขอเสนอปรับปรุงหลักสูตร     

2.1-4.1  ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ป ชั้นสูง ออร์โธปิดิกส์ 2555  

2.1-4.2  ประกาศ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร  

2.1-4.3 คำสั่ง ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน 2555 (ปรับปรุง) 

2.1-5.1  ประกาศ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร 

2.1-5.2 ตารางสอนแพทย์ประจำบ้าน   

2.1-5.3  คำสั่ง ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการทุนแพทย์ประจำบ้าน 2555/  

2.1-5.4 โครงการสัมมนาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน วันที่ 24 – 26 สิงหาคม 2555 โนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ จังหวัดชุมพร

 

2.1-6.1  รายงานการประเมินสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาออร์โธปิดิกส์//  

2.1-6.2 หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาออร์โธปิดิกส์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย