ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร หมายเหตุ : 1. การ นับหลักสูตรปริญญาโทแผน ก และปริญญาเอกให้นับหลักสูตรที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรอบปีการศึกษาที่ ทำการประเมินสำหรับการนับหลักสูตรทั้งหมดให้นับหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติให้ เปิดสอนทุกระดับปริญญาโดยนับรวมหลักสูตรที่งดรับนักศึกษา แต่ไม่นับรวมหลักสูตรที่สภาสถาบันอนุมัติให้ปิดดำเนินการแล้ว เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556 (ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน) 1.มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ดำเนินการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงตามระบบและกลไกที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยนำผลจากการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตประจำปีมาปรับปรุงหลักสูตร โดยฝ่ายวิชาการจะดำเนินการนำเสนอ “ร่าง” หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์ และคณะฯ จะดำเนินการโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. คณะ/หน่วยงานส่งแบบเสนอปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (สมอ.08) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารคณะ/หน่วยงาน จำนวน 2 ชุด ไปยังสำนักบริหารวิชาการก่อนกำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาใน ปีการศึกษาถัดไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน 2. ฝ่ายมาตรฐานหลักสูตร สำหนักบริหารวิชาการ ดำเนินการ 2.1 ตรวจสอบรายละเอียดและแจ้งคณะปรับแก้ไขพร้อมทั้งให้ส่งเอกสาร จำนวน 20 ชุด 2.2 เสนอคณะกรรมการมาตรฐานหลักสูตรพิจารณา 2.3 แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรฐานหลักสูตร พร้อมทั้งส่งแบบเสนอปรับปรุงแก้ไข หลักสูตรให้คณะ/หน่วยงานปรับแก้ไข 3. คณะ/หน่วยงานจัดทำเอกสารส่งให้ฝ่ายมาตรฐานหลักสูตรสำนักบริหารวิชาการ ได้แก่ 3.1 จัดทำแบบเสนอปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ (สมอ.08) จำนวน 2 ชุด 3.2 จัดทำแผ่นบันทึกรายละเอียดข้อมูลแบบเสนอปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ (CD) จำนวนหลักสูตรละ 2 ชุด 3.3 จัดทำแบบเสนอเปิดรายวิชาใหม่และ/หรือแบบเสนอแก้ไขรายละเอียดรายวิชา (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด 4.1 เสนอที่ประชุมคณบดีเพื่อพิจารณาทักท้วง 4.2 เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาทักท้วง 4.3 เสนอแบบเสนอปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรพร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) เพี่อทราบ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.4 ส่งสำเนาบันทึกแจ้ง สกอ. พร้อมทั้งเอกสารการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฉบับที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ ให้คณะ/หน่วยงานบัณฑิตวิทยาลัยและสำนักงานการทะเบียนเพื่อทราบและใช้เป็นเอกสารอ้างอิง 4.5 ตรวจสอบความถูกต้องของแบบเสนอเปิดรายวิชาและส่งสำนักงานการทะเบียนบันทึกข้อมูล หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่บรรจุเพิ่มในแผนพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551-2555 โดยภาควิชา/หลักสูตร ที่มีความประสงค์จะทำการเปิดหลักสูตรใหม่ จะต้องทำเอกสารส่งมายังฝ่ายบัณฑิตศึกษา เพื่อที่ฝ่ายบัณฑิตศึกษาจะนำเอกสารเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์ และคณะฯ จะดำเนินการโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 เอกสารการเสนอหลักสูตร 3 รายการ จำนวน 1 ชุด คือ 1) แบบเสนอขอเปิดหลักสูตรใหม่บรรจุเพิ่มในแผนพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) สรุปประเด็นสำคัญของหลักสูตร 3) ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับมีรายละเอียดครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด) 1.2 แบบแสดงข้อมูลด้านทรัพยากรประกอบการเสนอหลักสูตรใหม่ 2. กรณีหลักสูตรมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ให้คณะ/หน่วยงานส่งเอกสารเพิ่มเติมพร้อมกับเอกสารตามข้อ 1. ได้แก่ 2.1 ร่างประกาศฯ เรื่องอัตราการจัดเก็บเงินและอัตราการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหลักสูตร 2.2 หลักการ เหตุผล ความจำเป็นในการเสนอขออนุมัติอัตราต่างๆ ดังกล่าว 2.3 ประมาณการรายรับ-รายจ่ายของหลักสูตรเป็นเวลา 5 ปี 3.1 พิจารณาแบบแสดงข้อมูลด้านทรัพยากรฯ 3.2 ส่งเอกสารตามข้อ 1.1 ทั้ง 3 รายการ และสรุปข้อมูลด้านทรัพยากรฯ ให้สำนักบริหารงานวิชาการ 3.3 ส่งเอกสารตามข้อ 2.1, 2.2 และ 2.3 ให้ศูนย์กฎหมายและนิติการ 4.1 ตรวจสอบรายละเอียดและแจ้งคณะ/หน่วยงานปรับแก้ไข พร้อมทั้งให้ส่งเอกสารที่แก้ไขแล้ว จำนวน 40 ชุด และแผ่นบันทึกสรุปประเด็นสำคัญของหลักสูตร (diskette) 4.2 เสนอคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณา 4.3 เสนอคณะกรรมการนโยบายวิชาการของสภามหาวิทยาลัยพิจารณา 4.4 เสนอที่ประชุมคณบดีเพื่อพิจารณาทักท้วง 4.5 เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาทักท้วง 4.6 แจ้งผลการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยและข้อคิดเห็นของคณะกรรมการนโยบายวิชาการของสภามหาวิทยาลัย (ถ้ามี) ให้สำนักบริหารแผนและการคลังเพื่อทราบ พร้อมทั้งสำเนาแจ้งคณะ/หน่วยงาน เพื่อทราบและนำข้อคิดเห็นของคณะกรรมการนโยบายวิชาการของสภามหาวิทยาลัยไปใช้ประกอบการจัดทำร่างหลักสูตร 5.1 ตรวจสอบรายละเอียดและแจ้งคณะ/หน่วยงานปรับแก้ไข พร้อมทั้งส่งเอกสารที่แก้ไขแล้ว และแผ่นบันทึกข้อมูล (diskette) จำนวน 1 ชุด 5.2 เสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายระเบียบข้อบังคับและประกาศที่ออกตามความในระเบียบต่างๆ ของมหาวิทยาลัย 5.3 เสนอที่ประชุมคณบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ 5.4 แก้ไขร่างประกาศตามมติที่ประชุมคณบดีและจัดส่งสำเนาประกาศที่ท่านอธิการบดีลงนามแล้วให้ ฝ่ายการงบประมาณ สำนักบริหารแผนและการคลัง ฝ่ายมาตรฐานหลักสูตร สำนักบริหารงานวิชาการ และคณะ/หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสูตร ระยะเวลาดำเนินการในส่วนที่สำนักบริหารวิชาการรับผิดชอบ : ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่สำนักบริหารวิชาการรับเอกสารฉบับพร้อมที่จะดำเนินการตามขั้นตอนจากสำนักบริหารแผนและการคลัง (คณะ/หน่วยงานต้องส่งเอกสารก่อนกำหนดการรับสมัครเข้าศึกษาในปีการศึกษาถัดไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
เอกสารที่สถาบันศึกษาต้องจัดทำ ประกอบด้วย มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา มคอ.4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) มคอ.5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา มคอ.6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) มคอ.7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร คณะกรรมการการอุดมศึกษานำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติไปพัฒนา มคอ.1 หรือ มาตรฐานคุณวุฒิ สาขา/สาขาวิชาต่าง ๆ ของแต่ละระดับคุณวุฒิ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน ขณะนี้มีการประกาศใช้ มคอ.1 แล้ว ในปีการศึกษา 2556 (มิถุนายน 2556 – พฤษภาคม 2557) มีหลักสูตรต่างๆในระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้ดำเนินการตามเกณฑ์กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ดังนี้คือ 1.การปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งสิ้น 1 1 หลักสูตร คือ -ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชานิติเวชศาสตร์, สาขาวิชาตจวิทยา และสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว -วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางการแพทย์, สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (นานาชาติ) -วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (นานาชาติ) และสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และชีวเทคโนโลยี (นานาชาติ) 2. การเปิดหลักสูตรใหม่ รวมทั้งสิ้น 2 หลักสูตร คือ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์ และประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาสุขภาพจิต 3. การปิดหลักสูตร รวมทั้งสิ้น 3 หลักสูตร คือ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2547), สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545) และสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นขั้นสูง (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2552) (ภาควิชากรอกข้อมูลเพิ่มเติม ถ้ามีการเปิดหลักสูตรระหว่างปีการศึกษา 2556) ภาควิชาฯ ไม่มีการเปิดหลักสูตรระหว่างปีการศึกษา 2556 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการอุดมศึกษา (คู่มือการเสนอหลักสูตรจุฬาฯ) และดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยผ่านคณะกรรมการบริหารคณะฯ และสภามหาวิทยาลัยฯ และรับรองโดย คณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. คณะ/หน่วยงานส่งบันทึกแจ้งปิดหลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารคณะไปยังสำนักบริหารงานวิชาการ โดยคณะ/หน่วยงานต้องระบุภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่จะปิดหลักสูตร 2. ฝ่ายมาตรฐานหลักสูตร สำนักบริหารงานวิชาการ ดำเนินการ 2.1 ตรวจสอบข้อมูล 2.2 เสนอคณะกรรมการวิชาการของมหาวิทยาลัยพิจารณา 2.3 เสนอคณะกรรมการนโยบายวิชาการพิจารณา 2.4 เสนอที่ประชุมคณบดีพิจารณาทักท้วง 2.5 เสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาทักท้วง 2.6 จัดทำบันทึกแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและจัดส่งสำเนาบันทึกให้คณะ/หน่วยงาน เจ้าของหลักสูตรและสำนักงานการทะเบียนและประมวลผลเพื่อทราบและดำเนินการตามระบบที่กำหนด โดยผ่านคณะกรรมการบริหารคณะฯ และสภามหาวิทยาลัย แล้วให้ดำเนินการแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใน 30วันหลังจากที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนด โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรแล้วจึงส่งคณะกรรมการบริหารคณะฯ ตามขั้นตอน เช่นเดียวกัน (ภาควิชากรอกข้อมูลเพิ่มเติม ถ้ามีการปิดหลักสูตรระหว่างปีการศึกษา 2556) ภาควิชาฯ ไม่มีการปิดหลักสูตรระหว่างปีการศึกษา 2556 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตามตัวบ่งชี้กลางที่กำหนดในภาคผนวก ก) สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย (หมายเหตุ : สำหรับหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา 2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต - หลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ภายใต้ระเบียบของมหาวิทยาลัย ทั้งระบบการจัดการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา การประกันคุณภาพหลักสูตร (ตามระบบ CU-CQA) และการพัฒนาหลักสูตร นอกจากนี้หลักสูตรยังมีเนื้อหาอิงตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2555 และเป็นไปตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2547 -ฝ่ายวิชาการ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2554 เพื่อมีอำนาจหน้าที่การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้จัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชาที่เปิดสอนในระบบทวิภาค ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 ผ่านระบบ CU-CAS ให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคการศึกษาเพื่อให้นิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชาต่างๆ สามารถเข้าดูประมวลรายวิชาออนไลน์เมื่อเปิดภาคการศึกษา และมีแบบประเมินสำหรับประเมินผลการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เมื่อเปิดภาคการศึกษา และมีแบบประเมินสำหรับประเมิน ผลการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ (CU-CAS) ได้ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม 2557 นั้น ฝ่ายวิชาการ ซึ่งมีการบริหารหลักสูตร โดยมีประธาน Phase เป็นผู้ดูแล ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการผู้ดูแลแต่ละ Phase กรอกข้อมูล สร้างประมวลรายวิชา (Course Syllabus) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) และหลักสูตรปรับปรุง 2555 ให้เสร็จทันก่อนระบบจะเปิดให้นิสิตเข้าทำการประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ดังนี้
ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ ได้มีการประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากผลการประเมินโดยบัณฑิตที่จบการศึกษาทุกปี และข้อมูลการทำ focus group จากคณาจารย์ทั้งระดับปรีคลินิกและคลินิก รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากหน่วยวิจัยสถาบัน ข้อมูลที่ได้จะนำมาเป็นแนวทางในการสัมมนาเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรเป็นประจำทุกปี หลักสูตรบัณฑิตศึกษา - หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่คณะฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2556 ประกอบด้วยหลักสูตรมหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตรการแพทย์คลินิก ที่ได้จัดดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรและจัดดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ครบทุกหลักสูตรแล้วรวมทั้งสิ้น 42 หลักสูตร โดยมีหลักสูตรที่ผ่านอนุมัติแล้วรวม 14 หลักสูตร ที่เหลืออยู่ระหว่างรอการรับรองจาก สกอ. - ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาฯ (Chulalongkorn University Curriculum Administration System : CU-CAS) และได้เริ่มใช้การประเมินผลการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านระบบ CU-CAS ตั้งแต่ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2554 ไปแล้วนั้น ฝ่ายบัณฑิตศึกษาได้จัดให้มีการอบรมการใช้โปรแกรม (Chulalongkorn University Curriculum Administration System : CU-CAS) โดยเชิญวิทยากรจากจุฬาฯ มาที่คณะแพทยศาสตร์เพื่อให้ทุกหลักสูตรได้เข้ารับการอบรมการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาฯ(CU-CAS)โดย อาจารย์ธีรนิจ ยุวะหงษ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554 - ในปีการศึกษา 2556 เพื่อให้การดำเนินการจัดทำรายวิชาและหลักสูตรที่มุ่งผลการเรียนรู้ตามแบบฟอร์ม มคอ.2 ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายบัณฑิตศึกษาจึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายคือ นางสาวอมรรัตน์ มาช่วย และนางสาวพิณธร ปรัชญานุสรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงและทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของภาควิชาในการใช้ CU-CAS เพื่อให้แต่ละรายวิชาที่ปิดสอนและมีนิสิตในภาคการศึกษานั้นๆได้จัดทำแบบประเมินผลรายวิชาและหลักสูตรที่มุ่งผลการเรียนรู้ตามแบบฟอร์ม มคอ.2 ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) - หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ ใช้สอนปี พ.ศ.2554 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 - ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะใช้หลักสูตรนี้ในปีการศึกษา 2557 - ภาควิชาฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน พ.ศ.2555 ณ วันที่ 1 มีนาคม 2555 มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแพทย์ประจำบ้านที่ศึกษาในหลักสูตร และประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน - มหาวิทยาลัย ได้เปิดระบบประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-CAS) ให้คณาจารย์เข้าดำเนินการกรอกข้อมูลเพื่อสร้างแบบประเมินผลการเรียนการสอนเตรียมให้นิสิตเข้าทำการประเมินในระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม 2557 นั้น ภาควิชาฯ ซึ่งมีการบริหารหลักสูตร โดยมีหัวหน้าภาควิชาฯ เป็นประธาน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เป็นรับผิดชอบ ดูแลการกรอกข้อมูล หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ให้เสร็จทันก่อนระบบจะเปิดให้นิสิตเข้าทำการประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การศึกษาระดับภาควิชาตามเกณฑ์การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาโดย สกอ. สมศ. - ในส่วนของคณะฯ ทางฝ่ายบัณฑิตศึกษาเล็งเห็นว่า เพื่อการพัฒนาและผลักดันให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯในเรื่องของความเป็นนานาชาติ และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ 1.คณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษา สำหรับหลักสูตรการศึกษาหลังปริญญา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก คำสั่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่ 383.9/2554 ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 โดยมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
2. คณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษา สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ประกาศ ณ วันที่ คำสั่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่ 384.9/2554 ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่ภาควิชาเป็นเจ้าของหลักสูตร)
โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแพทย์ประจำบ้านที่ศึกษาในหลักสูตร และประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5.มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากข้อ 4 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารรายวิชาต่างๆ และคณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง (เอกสาร 2.1 – 5.1) พร้อมกันนี้ ฝ่ายวิชาการยังได้จัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารคณะฯ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร/รายวิชา คณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงตัวแทนนิสิตแพทย์ เพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็น/ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร/การเรียนการสอน เพื่อทบทวน วางแนวทาง และกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา สำหรับปรับกระบวนการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเตรียมการสัมมนาหลักสูตร ประจำปี 2556 ฝ่ายวิชาการ สัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2556 ณ โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดชลบุรี ในประเด็นที่สำคัญคือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีภารกิจหลัก คือ การผลิตแพทย์สู่สังคม ซึ่งรวมทั้งการผลิตในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ที่ผ่านมาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ปรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ของสังคมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่เนื่องจากการปรับหลักสูตรแต่ละครั้งใช้เวลาหลายปี การวางแผนสำหรับการผลิตบัณฑิตในอนาคตเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการปรับหลักสูตรได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันนี้ อัตราการผลิตแพทย์ของประเทศไทยทำได้มากไปกว่า 10 ปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัดกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลิตกับคณะแพทย์ต่างๆ ทั่วประเทศเป็นที่คาดได้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนแพทย์ที่ผลิตในโครงการของกระทรวงสาธารณสุข จะมีจำนวนมากสำหรับการวางแผนการบริการทางสาธารณสุขของประเทศให้ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ ดังนั้นทิศทางการผลิตแพทย์ในอนาคตน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป 1. Physician for community ซึ่งเป็นแพทย์ส่วนใหญ่ของประเทศที่ดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนทั่วไป Community ดังกล่าวครอบคลุมชุมชนทุกรูปแบบของประเทศ ที่ดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนทั่วไป Community ดังกล่าวครอบคลุมชุมชนทุกรูปแบบของประเทศ ตั้งแต่ชุมชนเล็กจนถึงชุมชนใหญ่ในพื้นที่ตำบล อำเภอ จังหวัด และเมืองใหญ่สำคัญของประเทศ รวมถึงในภูมิภาคอาเซียน 2. Academic physician/researcher แพทย์กลุ่มนี้ครอบคลุมแพทย์ที่ทำงานด้านวิชาการ นักวิจัยและครูแพทย์ ถึงแม้ว่าจำนวนแพทย์ในกลุ่มนี้ไม่มากนัก แต่มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการผลิตอย่างสม่ำเสมอ และทดแทนคนเก่า อนึ่งแพทย์นักวิจัยเป็นความจำเป็นของประเทศที่จะผลิตผลงานวิจัยที่แก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศ แพทย์กลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก 3. Physician for advance care แพทย์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะดูแลรักษาโรคที่ต้องการความเชี่ยวชาญในระดับสูง/ลึก โดยใช้ความรู้/เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยวางตัวเองเป็น Medical hub ในภูมิภาค แพทย์กลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และภูมิภาค คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นับเป็นเสาหลักของแผ่นดิน ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ ควรมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายการผลิตแพทย์ของประเทศ คณะแพทยศาสตร์ ต้องพิจารณาตามศักยภาพของคณะในการกำหนดคุณสมบัติของบัณฑิตแพทย์จุฬาฯ และเตรียมการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ฝ่ายวิชาการ จึงเห็นสมควรสัมมนาหลักสูตรคณะแพทย์ในหัวข้อ “การผลิตแพทย์จุฬาฯ ในอนาคต” เพื่อวางทิศทางการผลิตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอนาคต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา นอกเหนือจากการกำกับดูแลหลักสูตรโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของแต่ละหลักสูตรที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์ดังที่กล่าวแล้ว ทางคณะแพทยศาสตร์ยังมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ทำหน้ารับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 ในส่วนของบัณฑิตศึกษาได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษาทั้ง 2 คณะ ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. คณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษา สำหรับหลักสูตรการศึกษาหลังปริญญา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ครั้งที่ 1/2555 ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2555เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาร่วมของบัณฑิตศึกษา และนำผลการประเมินการเรียนการสอนในรายวิชาร่วมของบัณฑิตศึกษามาปรับปรุงตารางการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนต่อไป ซึ่งจากการประชุมได้นำข้อคิดเห็นจากแบบประเมินของนิสิตมาปรับเปลี่ยนเวลาเรียนในส่วนของความรู้พื้นฐานทางการวิจัย ให้สอนต่อเนื่องกันใน 1 สัปดาห์ เพื่อความต่อเนื่องของการเรียนรู้ และได้ ปรับเพิ่มหัวข้อบรรยายตามข้อเสนอแนะของนิสิต 2. คณะกรรมการบริหารงานบัณฑิตศึกษา สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ครั้งที่ 1/2555 เพื่อร่วมกันพิจารณาแผนงานของหลักสูตรต่างๆ และพิจารณาการให้ทุนอุดหนุนการศึกษาแก่นิสิต ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 จากการประชุมได้มีการวางแผนงานบริหารร่วมกัน เพื่อดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะและร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆของนิสิต ผลการประชุม ได้มีข้อเสนอให้เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาแก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้แต่ละหลักสูตรมีโอกาสได้คัดเลือกนิสิตที่มีความสามารถสูง เพิ่มขึ้น และมีการเพิ่มทุนการศึกษาแก่นิสิตต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาเซียนตามแผนยุทธศาสตร์คณะ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการรวบรวมกิจกรรมจิตอาสาต่างๆของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้เมื่อมีเวลาว่าง (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่ภาควิชาเป็นเจ้าของหลักสูตร)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6.มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร มากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1 และ ค2) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะแพทยศาสตร์ ร่วมมือกับแพทยสภาและราชวิทยาลัย ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร และมีการติดตาม กำกับดูแลสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่ได้รับอนุมัติให้เปิดการฝึกอบรมเป็นระยะๆ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ เป็นผู้ดำเนินการตามแนวทางที่แพทยสภากำหนดและเสนอรายงานผ่านราชวิทยาลัย เพื่อเสนอให้แพทยสภารับทราบ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ มีการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรแพทยศาสตรศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก จำนวน 29 หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 10 หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จำนวน 7หลักสูตร โดยหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแทพย์คลินิกของคณะแพทยศาสตร์ทุกหลักสูตรผ่านการรับรองหลักสูตรจากราชวิทยาลัย ร้อยละ 100 ของจำนวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ภาควิชาฯ ร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรอนุมัติบัตรของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7.หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชามีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอนได้แก่ หลักสูตร ป.โท-ป.เอก และ ป. บัณฑิตชั้นสูง ทั้งระดับภาควิชาและระดับคณะฯ มีการจัดรายวิชาที่เน้นการวิจัยเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสเลือกค้นคว้าและทำวิจัยที่สนใจ คือ รายวิชา Research Skill in Biomedical Science and Biotechnology, thesis, critical appraisalof Literature in Ophthalmology, Special Project I & II เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละรายวิชา มีการสอนและการประเมินผลชัดเจนโดยคณาจารย์ ด้านวิจัย รวมทั้งมีนิสิตทั้งในและนอกประเทศที่ให้ความสนใจและลงทะเบียนมาแลกเปลี่ยนเพื่อหาประสบการณ์การวิจัยเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก - ทั้งนี้นิสิตในหลักสูตร ป.โท-ป.เอก นิสิตต้องตีพิมพ์ผลงานวิจัย และ/หรืออมีการนำเสนอรายงานการวิจัยในที่ประชุมวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย - ในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวน17 หลักสูตร และ จำนวนหลักสูตรทั้งหมดทุกระดับการศึกษา= (25 ป.สูง+ 10 โท+7 เอก+1 ป.ตรี)= ...หลักสูตร ดังนั้น 17/43 x100 =39.53%( < ร้อยละ 50 ) หมายเหตุ : ถ้านับหลักสูตร ป.สูง เป็นหลักสูตรวิจัย = 42/43x100 = 97.67% (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) หลักสูตรปริญญาบัณฑิตชั้นสูงฯ สาขาออร์โธปิดิกส์ เป็นหลักสูตรของภาควิชาฯ มีรายวิชา 3016718 โครงการพิเศษ 1หน่วยกิต 3(0-0-12) และ 3016719 โครงการพิเศษ 2 หน่วยกิต 3(0-0-12) เปิดสอน ซี่งเป็นรายวิชาที่เน้นเรื่องการทำวิจัย ตั้งแต่การคิดหัวข้องานวิจัย, การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง, การจัดทำโครงการงายวิจัย, การขอพิจารณาทางด้านจริยธรรมการวิจัย,การดำเนินงานวิจัย, การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลไปจนถึงการรายงานผลการวิจัย หรือ การนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของหลักสูตรของภาควิชาฯ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8.หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยที่เปิดสอน (ปริญญาโท เฉพาะแผน ก และปริญญาเอก) มีจำนวนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรมากกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดทุกระดับการศึกษา (เฉพาะกลุ่ม ค1) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิสิตบัณฑิตศึกษาของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 3016718 โครงการพิเศษ 1หน่วยกิต 3(0-0-12) และ 3016719 โครงการพิเศษ 2 หน่วยกิต 3(0-0-12) ของหลักสูตรมีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 7 คน ในขณะที่นิสิตปริญญาตรีที่เรียนรายวิชาของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ปี 5 มีคน จำนวน 200 คน และปี 6 มีจำนวน 200 คน นิสิตปริญญาโท 2 คน ดังนั้นนิสิตที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัยคิดเป็นร้อยละ (7x100) ¸ 409 = 1.71% ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 30 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการประเมิน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวบ่งชี้ 2.1 |
เป้าหมาย * (ข้อ) |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนการประเมิน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร |
5 |
6 |
4 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเหตุ * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีนี้ |
เป้าหมาย |
บรรลุเป้าหมาย £ ไม่บรรลุเป้าหมาย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คะแนนการประเมินปีที่แล้ว |
5 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว |
5 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีหน้า |
เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ) |
6 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนา
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป แผนการดำเนินงาน
หลักฐานอ้างอิง |