ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

 

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

 

เกณฑ์การประเมิน:

 

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

 

ดำเนินการ 1 ข้อ

ดำเนินการ 2 ข้อ

ดำเนินการ 3 ข้อ

ดำเนินการ 4 ข้อ

ดำเนินการ 5 ข้อ

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556

(ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน)

 
 

1.มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน

 

1.มีการกำหนดทิศทางและวางแผนการดำเนินงานของการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน การจัดทำหลักสูตรสำหรับแต่ละสาขา (แพทย์ประจำบ้านต่อยอด)

2.ภาควิชาฯ มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน โดยใช้แบบสำรวจความต้องการของบริษัทเอกชน เพื่อให้ได้หัวข้อและความต้องการขั้นพื้นฐานของภาคเอกชนที่จะนำมาดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการ

 

2.มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ

 

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ ดังนี้

  • การประชุมวิชาการอนุสาขา Sports Medicine ร่วมกับ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เรื่อง Sports Medicine Intensive Day 2014 วันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
  • การประชุมวิชาการ การฝึกผ่าตัดเข่าสู่ข้อเข่าและข้อสะโพก เรื่อง All aspects on skin incision & arthrotomy in knee arthroplasty ร่วมกับ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย   วันที่ 13-14 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์ฝึกผ่าตัด อาคารแพทยพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ กับหน่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล Khanh Hoa สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2556
 

3.มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม

 

ภาควิชาฯ มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม จากข้อมูลการประเมินที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ภาควิชาฯ จัดขึ้นหรือร่วมจัดกับภาคเอกชน การประเมินที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีแบบสอบถาม และการประเมินที่ได้จากการสังเกต อย่างไรก็ตามจากการประเมินในทุกกิจกรรมจะนำเข้าเสนอและสรุปให้กับคณะกรรมการภาควิชาฯ ได้รับทราบ เพื่อนำผลมาปรับใช้ในการดำเนินการของกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม ต่อไป

 

4.มีการนำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ

 

ภาควิชาฯ ได้นำผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนา

  1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้คลอบคลุมเนื้อหาที่แพทย์ประจำบ้านสนใจ จัดทำหนังสือเฉพาะด้าน
  2. ระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ พัฒนารูปแบบและเนื้อหาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและแพทย์ออร์โธปิดิกส์
  3. นำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดหาเครื่องมือพื้นฐานในการฝึกอบรม หัวข้อการให้บริการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ   ส่งแพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมการอบรมมากขึ้นตามสาขาที่แพทย์ประจำบ้านสนใจ
 

5.มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน

 

ภาควิชาฯ ได้พัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในภาควิชาฯ และเผยแพร่สู่สาธารณชน เช่น

  1. จัดทำ Website ภาควิชาฯ ซึ่งประกอบด้วย ความรู้สู่ประชาชน ความรู้สำหรับแพทย์ออร์โธปิดิกส์ นิสิตแพทย์
  2. Website เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่
  •  www.orthochula.com            ความรู้ด้านข้อเข่า ข้อสะโพก
  • www.thaispinecenter.com    ความรู้ด้านกระดูกสันหลัง
  • www.thaispinesurgeon.com ความรู้ด้านกระดูกหลัง
  • www.thaisportmed.org        ความรู้ด้านเวชศาสตร์การกีฬา
  • www.thaibonetumor.org        ความรู้ด้านมะเร็งกระดูก
  1. จัดทำหนังสือและตำรา โดยคณาจารย์ภาควิชาฯ เช่น
  • ตำราเรียนออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กระดูกหักและข้อเคลื่อน ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
  • Biomechanics of Spine Stabilization ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
  • โรคเด็กสมองพิการ ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
  • โรคเท้าในเด็ก ผู้แต่ง รศ.นพ.ไพรัช ประสงค์จีน
  • จุลศัลยกรรมทางออร์โธปิดิกส์ ผู้แต่ง ศ.นพ.อดิศร ภัทราดุล
  • เทคนิกการเจาะใส่ Pedicla สกรู ผู้แต่ง ศ.นพ.ประกิต เทียนบุญ
  • การผ่าตัด Minimary Investive Surgery Totel Knee Arthroplasty ผู้แต่ง ศ.นพ.อารี ตนาวลี

ซึ่งนับว่าเป็นการทำ Knowledge Management ในรูปแบบต่างๆ สำหรับการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน

 

ผลการประเมิน

 

ตัวบ่งชี้ 5.2

เป้าหมาย * (ข้อ)

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

 

กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

5

5

5

 

หมายเหตุ

       * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

ข้อมูลสำหรับปีนี้

เป้าหมาย

 okบรรลุเป้าหมาย          nok ไม่บรรลุเป้าหมาย

   

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว

4

 

เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว

5

 

ข้อมูลสำหรับปีหน้า

เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ)

5

 

จุดเด่น

  1. มีอาจารย์ที่มีศัลยภาพสูงและสามารถถ่ายทอดความรู้และให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
  2. มีบุคลากรสายสนับสนุนที่มีศัลยภาพในการจัดการสารสนเทศ (Website, Data) ให้กับภาควิชา
  3. อาจารย์ทุกท่านของภาควิชาฯ มีโอกาสที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมตามแขนงวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. จัดระบบติดตามประกอบผลงานด้านบริการสังคมและชุมชน
  2. พัฒนาช่องทางของการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการ
  3. การประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม สามารถวิเคราะห์ได้ในทุกกิจกรรม

แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป

   แผนการดำเนินงาน

  1. จัดทำทำเนียบศิษย์เก่าให้ทันสมัย สวยงาม
  2. พัฒนา Website ของภาควิชาฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
  3. จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาและบริการให้ทันสมัย
  4. จัดทำแผนการติดตามประเมินผล และนำมาปรับปรุงพัฒนา

หลักฐานอ้างอิง

5.2-5.1     Website ภาควิชาฯ

5.2-5.2     Website เฉพาะสาขาวิชา เช่น www.orthochula.com , www.spinecenter.com