ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 : ระบบบริหารความเสี่ยง
ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 : ระบบบริหารความเสี่ยง |
|||||||||||
เกณฑ์การประเมิน |
|||||||||||
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
|||||||
ดำเนินการ 1 ข้อ |
ดำเนินการ 2 ข้อ |
ดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ |
ดำเนินการ 5 ข้อ |
ดำเนินการ 6 ข้อ |
|||||||
หมายเหตุ: คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นภายในสถาบันในรอบปีการประเมินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร หรือ ต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อความมั่นคงทางการเงินของสถาบัน อันเนื่องมาจากความบกพร่อง ของสถาบันในการควบคุมหรือจัดการกับความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน ตัวอย่างความเสี่ยงร้ายแรงที่ให้ผลประเมินเป็นศูนย์ (0) คะแนน เช่น 1. มีการเสียชีวิตและถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรงของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรภายในสถาบัน ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่สถาบันสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่พบแผนการจัดการความเสี่ยงหรือไม่พบความพยายาม ของสถาบันในการระงับเหตุการณ์ดังกล่าว 2. สถาบันหรือหน่วยงานเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น คณาจารย์ นักวิจัยหรือบุคลากรขาดจริยธรรม จรรยาบรรณ การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎกระทรวง และเกิดเป็นข่าวปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ข่าว online เป็นต้น 3. สถาบันหรือหน่วยงานขาดสภาพคล่องในด้านการเงินจนทำให้ต้องปิดหลักสูตร หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาปัจจุบันที่เรียนอยู่อย่างรุนแรง ** หากมีคณะใดคณะหนึ่งได้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ (0) แล้ว สถาบันก็จะได้คะแนน การประเมินเป็นศูนย์ (0) ด้วยเช่นกัน หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้น การไม่เข้าข่ายที่ทำให้ผลการประเมินได้คะแนนเป็นศูนย์ (0) ได้แก่ 1. สถาบันมีการวิเคราะห์และจัดทาแผนบริหารความเสี่ยงเชิงป้องกันหรือมีแผนรองรับ เพื่อลดผลกระทบสำหรับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงดังกล่าวไว้ล่วงหน้าและดำเนินการตามแผน 2. เป็นเหตุสุดวิสัย อยู่นอกเหนือการบริหารจัดการ (การควบคุมหรือการป้องกัน) ของสถาบัน 3. เหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวมีความรุนแรงที่ลดน้อยลงมากจากแผนรองรับผลกระทบที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า |
|||||||||||
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556 (ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน) |
|||||||||||
1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน |
|||||||||||
ภาควิชาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีหัวหน้าฝ่ายวิชาการเป็นประธานที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของภาควิชา ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยใหคณะอนุกรรมการมีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้
จัดทํารายงานการบริหารความเสี่ยงเสนอตอหัวหน้าภาควิชาฯและคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ |
|||||||||||
2.มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้ - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่) - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบ ประกันคุณภาพ - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก - อื่นๆ ตามบริบทของสถาบัน |
|||||||||||
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่
1.1 ความเสี่ยงเรื่องขนาดของพื้นที่ใช้สอย ทำให้ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน การบริการผู้ป่วย เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อในโรงพยาบาล การแก้ไขปัญหา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การติดตาม และประเมินผล ทุกๆ 1 ปี 1.2 ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของทรัพย์สินของภาควิชาฯ และส่วนบุคคล การแก้ไขปัญหา - ติดตั้งระบบ Scan ลายนิ้วมือ เพื่อเปิด-ปิดประตูเข้าออก - ติดตั้งกล้องวงจรปิดทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ตรวจความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ ทุกวันศุกร์ การติดตาม และประเมินผล ทุกๆ 6 เดือน หรือตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
2.1 ความเสี่ยงด้านการลงทะเบียนเรียนของแพทย์ประจ าบ้าน เนื่องจากหลักสูตรประกาศนียบัตร ชั้นสูงทางวิทยาลัยการแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบ year course ไม่มีการแบ่งภาคการศึกษาเป็นภาคต้นและภาคปลาย ทำให้เกิดความสับสนในการลงทะเบียนเรียนของ แพทย์ประจ าบ้าน การแก้ไขปัญหา - จัดกลุ่มรายวิชาในการลงทะเบียนเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการลงทะเบียนไม่สับสน - กำหนดตัวบุคคล เเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบในการดูแลหลักสูตรและการลงทะเบียน - ทำความเข้าใจแก่แพทย์ประจำบ้านเกี่ยวกับรายวิชาที่สอนในแต่ละปีการศึกษา โดยการมอบ log book คู่มือปฏิบัติให้ทุกคน การติดตาม และประเมินผล ทุกๆ 6 เดือน โดยการประชุมภาควิชาฯ
- นำเรื่องเข้าที่ประชุมภาควิชา/ฝ่ายฯ เพื่อพิจารณา - ประกาศสิทธิผู้ป่วยให้ชัดเจนและท าความเข้าใจกับผู้ป่วย - ปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมอย่างเคร่งครัด การติดตาม และประเมินผล ตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง |
|||||||||||
3.มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 |
|||||||||||
ภาควิชาฯ มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงของภาควิชาฯ กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน กรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยงของภาควิชา |
|||||||||||
4.มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน |
|||||||||||
ภาควิชาฯ ใช้แผนบริหารความเสี่ยงของคณะฯ RM 1 ที่ถ่ายทอดมาจากระดับคณะฯ สู่ภาควิชา และมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผนที่ได้รับการถ่ายทอดทั้งจากคณะแพทยศาสตร์ RMI โดยคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินงาน เมื่อมีปัญหาความเสี่ยงในระดับต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนและการบริการ ตลอดจนกำหนดวิธีการแก้ไขความเสี่ยงนั้นๆ ทั้งนี้ภาควิชาฯ ได้ประสานกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของคณะฯ เพื่อรับนโยบายหลักมาดำเนินการทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
|||||||||||
5.มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
|||||||||||
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ เสนอรายงานต่อที่ประชุมภาควิชาฯ เช่น การประชุมภาควิชาฯ ครั้งที่ 5/2556วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน2556 เรื่อง หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ระยะที่ 3 (ความเสี่ยงด้านของกระบวนการบริหารหลักสูตร) |
|||||||||||
6.มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป |
|||||||||||
ภาควิชาฯ ยังไม่มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป |
|||||||||||
ผลการประเมิน |
|||||||||||
ตัวบ่งชี้ 7.4 |
เป้าหมาย * (ข้อ) |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนการประเมิน |
||||||||
ระบบบริหารความเสี่ยง |
6 |
5 |
4 |
||||||||
หมายเหตุ * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน |
|||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีนี้ |
เป้าหมาย |
|
|||||||||
คะแนนการประเมินปีที่แล้ว |
5 |
||||||||||
เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว |
5 |
||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีหน้า |
เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ) |
6 |
|||||||||
จุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนา
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป แผนการดำเนินงาน
|
|||||||||||
หลักฐานอ้างอิง ........ |