ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 : ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 : ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต |
|||||||||||
เกณฑ์การประเมิน: |
|||||||||||
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
|||||||
ดำเนินการ 1 ข้อ |
ดำเนินการ 2 ข้อ |
ดำเนินการ 3 ข้อ |
ดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ |
ดำเนินการ 5 ข้อ และ ข้อ 6 |
|||||||
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556 (ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน) |
|||||||||||
1.มีการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตอย่างน้อยสำหรับทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทุกรอบระยะเวลาตามแผนกำหนดการศึกษาของหลักสูตร |
|||||||||||
หน่วยวิจัยสถาบันมีการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทุกรอบระยะเวลาตามแผนกำหนดการศึกษาของหลักสูตร โดยสำรวจจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านความรู้ความสามารถ 2. ด้านทักษะการสื่อสารทางสังคม 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรม ในปีการศึกษา 2556 ทำการสำรวจในช่วงเดือนกรกฎาคม 2556 – มีนาคม 2557 ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะทั้ง 3 ด้าน ที่ระดับคะแนน 3.96 จากคะแนนเต็ม 5.00 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ประกอบกับเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ซึ่งกำหนดเป็น 12 Outcomes ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545) ตลอดจนสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยหน่วยวิจัยสถาบันดังนี้ - มีการสำรวจความคิดเห็นของนิสิตและผู้ปกครองนิสิตแพทย์เข้าใหม่ ปี 2556 เรื่อง เหตุผลของการเลือกคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของแพทย์จุฬาฯ และความคาดหวังต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - มีการการสำรวจความพึงพอใจของบัณฑิตแพทย์ ผู้ปกครอง และผู้ใช้บัณฑิตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2555 โดยประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะการสื่อสารทางสังคม และด้านคุณธรรมจริยธรรม สำหรับการสำรวจจากคำถามปลายเปิดผู้ใช้ บัณฑิตเสนอแนะในด้านทักษะเรื่องหัตถการ การตรวจร่างกาย การเขียนรายงานผู้ป่วย รวมถึงทักษะการสื่อสาร การมีมนุษยสัมพันธ์ และควรปรับปรุงเรื่องการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น, ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่เหมาะสม, ความมั่นใจในตนเองและความกล้าตัดสินใจ - การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินแพทย์เพิ่มพูนทักษะปีที่ 1 เป็นประจำทุกปี หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ฝ่ายบัณฑิตศึกษาได้จัดทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ โดยสำรวจจากแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการตามลักษณะงาน 2. ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ และนำข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บัณฑิตเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของคณะฯ ต่อไป ในปีการศึกษา 2556 ข้อมูลที่จัดทำอยู่ระหว่างการสำรวจ (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี))
|
|||||||||||
2.มีการนำผลจากข้อ 1 มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต |
|||||||||||
หน่วยวิจัยสถาบัน ได้ส่งรายงานผลการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไปยัง 21 ภาควิชาของคณะ และ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนิสิต และฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังให้หัวหน้าภาค และผู้บริหารคณะ download ได้ที่เว็บไซด์ของฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ในหัวข้อรายงานผลการสำรวจของหน่วยวิจัยสถาบันอีกด้วย ซึ่งภาควิชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการสำรวจที่ได้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพิจารณาพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีการนำผลจากข้อ 1 มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนโดยจัดสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อปรับปรุงกลไกการผลิตบัณฑิตแพทย์ให้ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุ 12 learning outcomes นำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาสมรรถนะทางคลินิกของนิสิตแพทย์/บัณฑิตให้ดียิ่งขึ้น ด้วยวิธีการต่อไปนี้ •กำหนดวิธีการประเมินผลที่ครอบคลุมทั้งในรูปแบบของทฤษฎี (Theory) ทักษะทางคลินิก (Clinical Skills) และเวชปฏิบัติ (Performance) รวมทั้งการประเมินแฟ้มสะสมงานที่นิสิตได้สะท้อนการเรียนรู้ใน outcome ต่างๆ โดยเฉพาะ outcome ที่ไม่สามารถประเมินได้จาก 3 วิธีข้างต้น ได้แก่ - Roles of Doctor and Social Responsibility - Professional and Personal Development • ขยายความร่วมมือกับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน Primary care • แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ฝึกทักษะทางคลินิก เพื่อพัฒนาทักษะในการทำหัตถการของนิสิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีการนำผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่ดำเนินการทุกปี ซึ่งแบบประเมินประกอบด้วยการประเมินความพึงพอใจในบัณฑิต ทั้ง 3 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้ความสามารถ 2. ด้านทักษะการสื่อสารทางสังคม 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยคณะกรรมการบัณฑิตฯ และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ จะนำผลการสำรวจ มาทำการประชุมวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต อาทิเช่น การจัดอบรมเรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพ การส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยเฉพาะทักษะการเขียนเพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย และความเป็นผู้นำ การเป็นผู้มีจิตอาสา คิดถึงส่วนรวมและผู้อื่น เป็นต้น (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ภาควิชาระบุสิ่งที่ดำเนินการ) นำข้อมูลจากการสำรวจมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน ปรับปรุงเนื้อหารายวิชา วิธีการสอน และการประเมินผล เพื่อเพิ่มพูนทักษะและให้ได้คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ เช่น จัดตารางการไปฝึกปฏิบัติงานนอกสถานศึกษา เพิ่มการสอนด้านทักษะการซักถามผู้ป่วย การซักประวัติ เป็นต้น หลักสูตรบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ ได้ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต มาปรับปรุงหลักสูตร ทำให้ได้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 (ร่าง มคอ.02) ดังนี้
|
|||||||||||
3.มีการส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต |
|||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ได้ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต ดังนี้ - ด้านบุคลากร อนุมัติกรอบอัตราบุคลากรสายปฏิบัติการประจำศูนย์ฝึกทักษะทางคลินิก (MDCU Clinical Skill Centre) จำนวน 2 อัตรา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (นางสาวสายสุณี อสุนี ณ อยุธยา) และเจ้าหน้าที่สำนักงาน (นายบวร สงวนศักดิ์) - ฝ่ายกิจการนิสิตได้จ้างครูมาสอนดนตรีไทย, สอนนาฏศิลป์, เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมนิสิตแพทย์ - ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะฯได้มีศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ, ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (CAI), ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ไว้ให้นิสิตเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมและสืบค้นหาข้อมูลในส่วนของหอพักนิสิตแพทย์ทุกหอพักได้มีคอมพิวเตอร์ประจำหอพักพร้อม wireless lan ไว้ให้นิสิต สืบค้นข้อมูลเช่นกัน ปีการศึกษาที่ผ่านมา คณะฯ ได้จัดซื้อ iPad จำนวน 150 เครื่อง เพื่อให้นิสิตยืมใช้สำหรับการเรียนการสอนในระบบ Interactive Class room ในนิสิตชั้นปีที่ 3 - ฝ่ายกิจการนิสิต ได้ตั้งงบประมาณจัดกิจกรรมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนานิสิต เช่น โครงการพัฒนาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม, โครงงานดูแลจิตใจห่างไกลความเสี่ยง เป็นต้น หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีการส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต มีการจัดอบรมจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร มีการจัดสรรทุนต่างๆ โดยเงินงบประมาณของคณะฯ และของหลักสูตรเอง รวมทั้งการส่งโครงการขอทุนสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นฝ่ายบัณฑิตยังจัดสรรงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพ คิดเป็น ทำเป็น และใฝ่รู้ เช่นการจัดสรรรางวัลสำหรับนิสิตที่ชนะการประกวดผลงานวิจัย การจัดสรรทุนให้นิสิตไปเสนอผลงานวิจัยทั้งใน และต่างประเทศ (ทุน 50/50) การจัดสรรทุนผู้ช่วยสอน/ผู้ช่วยวิจัย การจัดสรรทุนให้นิสิตไปทำวิจัยในต่างประเทศ เป็นต้น ในปีงบประมาณ 2555 นี้มีนิสิตที่ได้รับทุนต่างๆ ที่ใช้เงินคณะแพทย์ศาสตร์รวม 43 คน ประกอบด้วย ทุนอุดหนุนค่าเล่าเรียนเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยสอน/วิจัย 22 คน ทุนอุดหนุนค่าเล่าเรียน 8 คน และ ทุนประเทศเพื่อนบ้าน 13 คน (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี))
|
|||||||||||
4.มีระบบและกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหว่างสถาบัน หรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ |
|||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มีการส่งเสริมให้นิสิตระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการ หรือนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในที่ประชุมระหว่างสถาบัน หรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติโดยมีระบบและ กลไก ดังนี้ - งดการเรียนการสอนทุกวันพุธบ่าย เพื่อให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมประชุมวิชาการของคณะฯ - งดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีของคณะฯ - มีทุนสนับสนุนให้นิสิตได้ไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหว่างสถาบันหรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ - ฝ่ายกิจการนิสิต มีระบบสนับสนุนการทำงานวิจัยของนิสิต โดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาหรือแนะนำอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการที่เหมาะสม และให้การสนับสนุนนิสิตระดับปริญญาตรีในการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ เช่น
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีระบบและกลไกการส่งเสริมให้นิสิต บัณฑิตศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหว่างสถาบัน หรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ โดยการจัดสรรทุนให้นิสิตไปเสนอผลงานวิจัยทั้งใน และต่างประเทศ (ทุน 50/50) ซึ่งเป็นทุนของคณะแพทยศาสตร์ร่วมกับทุนบัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนั้นในปีงบประมาณ 2556 คณะฯยังจัดให้มีทุนสำหรับแพทย์ประจำบ้านเพื่อไปเสนอผลงาน ณ ต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยอีก 20 ทุน หลักสูตรบางหลักสูตรก็มีการจัดสรรทุนสนับสนุนการไปเสนอผลงานด้วยเช่นกัน (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี))
|
|||||||||||
5.มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่จัดโดยสถาบัน |
|||||||||||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นิสิต ดังนี้ - พิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2556 ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2556 ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมาส ตึก อปร. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อคณาจารย์ในโอกาสเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่และเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นประจำทุกปี - โครงการขวัญใจนิสิตประจำชั้นปี (จัดทุกปีการศึกษาในภาคปลาย) - งานอาจาริยบูชาสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 2 ก่อนเริ่มเรียนกายวิภาคศาสตร์ - งานพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (งานอาจารย์ใหญ่) - โครงการต้นกล้าแพทย์จุฬาฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะหล่อหลอม บ่มเพาะนิสิตก่อนขึ้นเรียนชั้นปีที่ 2 ให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อบรรลุคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์จุฬาฯ ในวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2556 ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Royal Hills Resort จังหวัดนครนายก(เอกสาร 2.7-5.1) - ฝ่ายกิจการนิสิต มีกิจกรรมดังได้กล่าวในตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ข้อ 3 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่บัณฑิตศึกษาที่จัดโดย คณะฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น วันไหว้ครู ตักบาตร ทำบุญภาควิชา /หลักสูตร ทำบุญให้สัตว์ทดลอง เป็นต้น (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ภาควิชาฯ มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่จัดโดยภาควิชาฯ ดังนี้
|
|||||||||||
6.มีระบบและกลไกสนับสนุนการประยุกต์ใช้ผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และมีการรับรองการใช้ประโยชน์จริงจากหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนหรือหน่วยงานวิชาชีพ (เฉพาะกลุ่ม ค1) |
|||||||||||
ภาควิชาฯ สนับสนุนการทำวิจัย โดยมีรายวิชาบังคับ คือ โครงการพิเศษ 1 และ 2 เพื่อทำวิจัย และนำผลการวิจัยมาใช้สำหรับการพัฒนาให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ หรือทราบข้อดีข้อเสียของวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อพัฒนาเทคนิคในการทำผ่าตัดหรือรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน ตัวอย่าง เช่น งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบการใช้โฟร์สกอร์กับกลาสโกว์โคมาสเกลในการประเมินผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉิน |
|||||||||||
ผลการประเมิน |
|||||||||||
ตัวบ่งชี้ 2.7 |
เป้าหมาย *(ข้อ) |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนการประเมิน |
||||||||
ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต |
6 |
6 |
5 |
||||||||
หมายเหตุ * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน |
|||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีนี้ |
เป้าหมาย |
|
|||||||||
คะแนนการประเมินปีที่แล้ว |
5 |
||||||||||
เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว |
7 |
||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีหน้า |
เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ) |
7 |
|||||||||
จุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนา
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป แผนการดำเนินงาน
ที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
หลักฐานอ้างอิง |