ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 : ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ
ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 : ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ |
||||||||||
หมายเหตุ: แผนกลยุทธ์ทางการเงินเป็นแผนระยะยาวที่ระบุที่มาและใช้ไปของทรัพยากรทางการเงินของสถาบันที่สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของสถาบันให้สามารถดำเนินการได้ แผนกลยุทธ์ทางการเงินจะสอดรับไปกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน สถาบันควรประเมินความต้องการทรัพยากร ที่ต้องจัดหาสำหรับการดำเนินงานตามกลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์และประเมินมูลค่าของทรัพยากรออกมาเป็นเงินทุนที่ต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นความต้องการเงินทุนในระยะยาวเท่ากับเวลาที่สถาบันใช้ในการดำเนินการให้กลยุทธ์นั้นบังเกิดผล จากนั้นจึงจะกำหนดให้เห็นอย่างชัดเจนถึงที่มาของเงินทุนที่ต้องการใช้ว่าสามารถจัดหาได้จากแหล่งเงินทุนใด เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมการศึกษา งบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินทุนสะสมของหน่วยงาน เงินบริจาคจากหน่วยงานภายนอกหรือศิษย์เก่า หรือสถาบันจะต้องมีการระดมทุนด้วยวิธีการอื่นๆ อีกเพิ่มเติมระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ทางการเงินจะเท่ากับระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ของสถาบัน เกณฑ์การประเมิน: |
||||||||||
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
||||||
ดำเนินการ 1 ข้อ |
ดำเนินการ 2 หรือ 3 ข้อ |
ดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ |
ดำเนินการ 6 ข้อ |
ดำเนินการ 7 ข้อ |
||||||
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556 (ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน) |
||||||||||
1.มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน |
||||||||||
ภาควิชาฯ มีการจัดทำแผนงบประมาณ [Planning-Programming-Budgeting-System (PPBS)] ประจำปี ตามกำหนดวันที่ส่วนกลางคณะแพทยศาสตร์ กำหนดให้ เพื่อรองรับแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการ และกิจกรรม ต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ รวมถึงเงินทุนอื่น ๆ เช่น กองทุนพัฒนาภาควิชาออร์โธปิดิกส์ กองทุนเอนกประสงค์ มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาเสนอของบประมาณแผ่นดิน ตามแผนงานของคณะแพทยศาสตร์ คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ จะพิจารณางบประมาณ PPBS และทำเรื่องเสนองบประมาณ ซึ่งภาควิชาฯ สามารถบริหารจัดการ วางแผนงานระยะสั้นในปีงบประมาณถัดไปอย่างน้อย 2 ปีงบประมาณ ทำให้ได้ครุภัณฑ์ที่ทันสมัยและไม่ซ้ำซ้อน ภาควิชาฯ มีการตรวจสอบทางการเงินของภาควิชาฯ โดยการมีผู้ลงนามในการเบิก-จ่ายเงินภาควิชาฯ จำนวน 2 ใน 3 คน |
||||||||||
2.มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ |
||||||||||
ภาควิชาฯ จะใช้การประชุมภาควิชาฯ ทุกครั้งมีวาระรายงานสถานะการเงิน มีระบบจัดสรรงบประมาณตามแผนใช้จ่ายของภาควิชาฯ ในการประชุมภาควิชาฯ มีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เมื่อได้รับรายงานงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากคณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาฯจะดำเนินการตามระเบียบการใช้งบประมาณ พร้อมทั้งจะแจ้งให้อาจารย์เจ้าของครุภัณฑ์รับทราบเพื่อกำหนดเวลาของการใช้เงินที่ได้รับการจัดสรร วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณจัดสรร และการเสนอตั้งงบประมาณ ทุกขั้นตอนโดยการผ่านการประชุมภาควิชาฯ หรือหนังสือเวียน เพื่อจัดลำดับความสำคัญ การกระจายงบประมาณเพื่อให้ทุกหน่วยงานหรือสายการทำงานได้รับอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม |
||||||||||
3.มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฎิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนาสถาบันและบุคลากร |
||||||||||
ภาควิชาฯ มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฎิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนาสถาบันและบุคลากร โดยการทำหนังสือเวียนไปยังคณาจารย์เพื่อขอทราบความต้องการครุภัณฑ์และงบประมาณที่ต้องการจัดซื้อ จัดจ้าง เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะเป็นไปตามระเบียบราชการว่าด้วยเรื่องการจัดซื้อ จัดจ้าง งบประมาณที่จัดสรรเป็นไปตามแผนงานพันธกิจของภาควิชาฯ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การสัมมนาภาควิชา จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ที่ต้องการ ในกรณีงบประมาณหมดก่อนภาควิชาฯ จะทำเรื่องขอขยายวงเงินงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลืองได้ |
||||||||||
4.มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อสภาสถาบันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง |
||||||||||
ภาควิชาฯ ต้องทำรายงานทางการเงินตามระบบของคณะแพทยศาสตร์ และการจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนรายงานต่อคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ทุกครั้งที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ในส่วนของงบประมาณภาควิชาฯ มีการรายงานทางการเงินต่อกรรมบริหารภาควิชาฯ โดยเลขานุการภาควิชาฯ เป็นผู้จัดทำรายงานทางการเงินเป็นประจำทุกเดือน และทุกไตรมาส ทั้งนี้หัวหน้าภาควิชาฯ จะเป็นผู้สรุปรายงานการทางเงินของภาควิชา เสนอต่อที่ประชุมภาควิชาฯทุกๆ การประชุม |
||||||||||
5.มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง |
||||||||||
ภาควิชาฯ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ เพื่อแจ้งการใช้จ่ายงบประมาณและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ รวมถึงการติดตาม ทบทวนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน และมีการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการบริหารงานในปัจจุบัน มีการดำเนินการให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่เรื่องงบประมาณและพัสดุดำเนินการสรุปงบประมาณที่เสนอขอตั้ง และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ทั้งงบประมาณแผ่นดิน เงินนอกงบประมาณ (PPBS) เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย จัดทำแผนการใช้งบประมาณและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในปีถัดไป โดยหัวหน้าภาควิชาฯ แจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ |
||||||||||
6.มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด |
||||||||||
ภาควิชาฯ มีการบริหารการเงินและงบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามจำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรร ทั้งนี้มีหน่วยพัสดุเป็นผู้ตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด |
||||||||||
7.ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ |
||||||||||
คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ ได้ติดตามการใช้เงินโดยหัวหน้าภาควิชาฯ จะนำข้อมูลงบประมาณทีเสนอขอและที่ได้รับการจัดสรร ซึ่งการดำเนินการใช้จ่ายเงินเพื่อเก็บรวมรวมเพื่อวิเคราะห์งบประมาณในปีถัดไป ตลอดจนการวางแผนด้านงบประมาณระยะยาว ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับงบประมาณจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |
||||||||||
ผลการประเมิน |
||||||||||
ตัวบ่งชี้ 8.1 |
เป้าหมาย * (ข้อ) |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนการประเมิน |
|||||||
ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ |
7 |
5 |
3 |
|||||||
หมายเหตุ * ให้ระบุเป้าหมายเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ใช้ประเมินสำหรับตัวบ่งชี้นั้น ๆ เช่น ระบุเป็นข้อ |
||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีนี้ |
เป้าหมาย |
|
||||||||
คะแนนการประเมินปีที่แล้ว |
5 |
|||||||||
เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว |
7 |
|||||||||
ข้อมูลสำหรับปีหน้า |
เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ) |
7 |
||||||||
จุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนา
หลักฐานอ้างอิง ..... |
||||||||||