ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน

หมายเหตุ:

1. มหาวิทยาลัยหรือคณะจะต้องประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ยกเว้นรายวิชาที่ไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ เช่น การฝึกงาน สหกิจศึกษา การค้นคว้าอิสระ วิชาโครงงาน สารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตามเกณฑ์ข้อ 5 หมายถึง งานวิจัยของผู้สอนของสถาบันที่ได้พัฒนาขึ้น และนำไปใช้ในการพัฒนาวิธีการสอน

กรณีหลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ต้องมีการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาด้วย

เกณฑ์การประเมิน:

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

ดำเนินการ 1 ข้อ

ดำเนินการ 2 หรือ 3 ข้อ

ดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ

ดำเนินการ 6 ข้อ

ดำเนินการ 7 ข้อ

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556

(ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน)

1.มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพของหลักสูตรในระดับคณะแพทยศาสตร์ สำหรับรายวิชาของภาควิชาฯ มีคณะกรรมการฝ่ายวิชาการทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนจะมีการประชุมปรึกษาหารือในระหว่างการประชุมภาควิชาฯ เพื่อวานแผนดำเนินงาน ติดตามและแก้ไขปัญหาของนิสิต มีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนิสิตผ่านระบบ CU-CAS นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้นิสิตได้ประเมินกิจกรรมการเรียนการสอนและปัยจัยเกื้อหนุนต่างๆ ที่ภาควิชาฯ จัดให้โดยแบบประเมิน Online ผ่าน Website ภาควิชาฯ   โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

  • การบริหารหลักสูตร
    • มีการแต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแพทย์ประจำบ้านที่ศึกษาในหลักสูตร และประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
    • กรรมการมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยการประชุมภาควิชาฯ
    • มีการจัดทำรายงานข้อมูลการดำเนินงานของหลักสูตร สมอ 07 เสนอต่อคณะกรรมการฝ่ายบัณฑิตศึกษาทุกภาคการศึกษา
    • มีการนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงการเรียนการสอน เช่น จัดทำตารางการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน สร้างหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการเพื่อการเรียนการสอน
  • ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
    • มีการแต่งตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสนับสนุนเงินทุนวิจัยแพทย์ประจำบ้าน
  • การสนับสนุนและการให้คำแนะนำแพทย์ประจำบ้าน
    • จัดกิจกรรมฝึกทักษะการทำผ่าตัด (Cadaveric Workshop) เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านฝึกหัดทำหัตถการ หรือการผ่าตัดที่สำคัญทางออร์โธปิดิกส์ จนเกิดทักษะและประสบการณ์เชิงปฏิบัติในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านเกิดความมั่นใจ ปลอดภัยก่อนให้การรักษาผ่าตัดคนไข้จริงต่อไป
  • สนับสนุนการทำงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน
  • มีการกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้คำปรึกษาแก่แพทย์ประจำบ้านที่ครอบคลุมทั้งในด้านวิชาการและการดำเนินชีวิต
    • ส่งเสริมให้แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม เช่น งานกาชาด หรือให้ความรู้แก่ประชาชนเนื่องในโอกาศสำคัญๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
    • สนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เช่น RCOST Meeting , การอบรมระยะสั้น ต่างๆ

2.ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

การจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชา โดยใช้ระบบ CU-CAS มีรายละเอียดของรายวิชา รวมทั้งแผนการสอนของทุกรายวิชาก่อนการเปิดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งอยู่ในประมวลรายวิชาตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีการส่งนิสิตแพทย์หมุนเวียนไปหาประสบการณ์ยังโรงพยาบาลเครือข่าย

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

มีการการจัดทำ มคอ.2 ของหลักสูตร และประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ทุกรายวิชาของหลักสูตร ด้วย CU-CASและจัดทำ มคอ.07แบบรายงานข้อมูลการดำเนินงานหลักสูตรฯ

3.ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย

การเรียนในทุกรายวิชาของภาควิชาฯ เป็นการเรียนโดยให้นิสิตเรียนรู้ทั้งจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เช่น การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย การปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด การออก OPD และการเรียนในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ซึ่งมุ่งเน้นในการเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้อยู่เสมอ

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

  • มีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถค้นคว้าหรือศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนของภาควิชาฯ ในส่วนของรายวิชาทักษะทางออร์โธปิดิกส์ เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยภายใต้การดูแลของอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย และการศึกษาเพิ่มเติมจากตำรา ตลอดจนแหล่งความรู้ต่างๆ สำหรับรายวิชาทางด้านทฤษฎีออร์โธปิดิกส์ ให้นิสิตได้ทำรายงานและอภิปรายปัญหาของผู้ป่วย เป็นการกระตุ้นให้นิสิตจำเป็นต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลด้วนตนเองก่อนจะมาอภิปรายในห้องเรียน โดยมีอาจารย์เป็นผู้กำกับและให้คำแนะนำ
  • ส่งนิสิตแพทย์ปี 6 หมุนเวียนไปยังสถาบันสมทบ ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนทักษะให้นิสิตแพทย์ รายวิชา 3000689 ทักษะออร์โธปิดิกส์
  • ส่งนิสิตแพทย์ปี 6 หมุนเวียนไปยังสถาบันสมทบ ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนทักษะให้นิสิตแพทย์ รายวิชา 3000690 เวชปฏิบัติออร์โธปิดิกส์

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

  • มีการจัดทำ Log Book เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียน, ส่งเสริมงานด้านวิจัยของหลักสูตร ป.ชั้นสูง
  • มีรายวิชาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและการทำวิจัย ได้แก่ โครงการพิเศษ 1 และ 2 (รหัสรายวิชา 3016718 จำนวน 3 หน่วยกิต และรหัสรายวิชา 3016719 จำนวน 3 หน่วยกิต
  • มีการจัดส่งแพทย์ประจำบ้านไปเรียนรู้นอกสถานศึกษา เช่น โรงพยาบาลสิรินธรฯ โรงพยาบาลเจริญกรุงฯ   โรงพยาบาลตำรวจ   โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา

4.มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ในรายวิชาออร์โธปิดิกส์ ได้จัดนิสิตให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในชุมชุน โดยส่งนิสิตไปหมุนเวียนยังโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อให้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล โดยมีแพทย์ผู้มีประสบการณ์จากโรงพยาบาลภายนอกให้ความรู้และช่วยแนะนำ ดังนี้

การปฏิบัติงาน ณ สถาบันสมทบ ระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2556

กลุ่มที่ 1

       

กลุ่มที่ 2

     

รพ.สิรินธร

นาย

ศุภวิวัชร

โรจนสิงหะ

 

O1

นาย

นน

จารุเธียร

 

น.ส.

กนกพร

ยุตินทร

   

น.ส.

ปวิตา

ติรสถิตย์

รพ.เจริญกรุง

น.ส.

ชลชา

เฉลิมสุวิวัฒนาการ

 

O2

นาย

ปาณทัต

แกล้ววาที

 

น.ส.

ญาดา

สุพรรณคง

   

น.ส.

พิชญา

สงวนหมู่

รพ.ตำรวจ

นาย

ฐิติ

ตั้งลิตานนท์

 

O3

นาย

ภาณุพงศ์

นาเจริญกุล

 

น.ส.

ฐิติพร

ทวีสกุลวัชระ

   

นาย

วศิน

ชคัตตรัยกุล

รพ.ตากสิน

นาย

ณรงค์ฤทธิ์

รสารักษ์

 

O4

นาย

สมประสงค์

เกียรติวัฒนชัย

 

น.ส.

ดวงทิพย์

หลงจิตร

   

นาย

สุขสันต์

สกุลลาวัณย์

รพ.กลาง

น.ส.

ธนัชพร

ตรีทอง

 

O5

นาย

เสฎฐวุฒิ

คิวเจริญวงษ์

 

น.ส.

ธาญมาส

แก้วสนิท

   

นาย

เจตบดินทร์

ประคุณศึกษาพันธ์

อาจารย์ผู้ดูแล

รศ.นพ.ประวิทย์ กิติดำรงสุข

   
 

ศ.นพ.อารี ตนาวลี

   

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

  • ภาควิชาฯ ได้เชิญผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ คือ รศ.นพ.สิทธิพล อรพินท์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านออร์โธปิดิกส์ มาสอน ณ ห้องประชุมตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 3 ดังนี้

ครั้งที่

วันที่

เรื่อง

๐๗ มิถุนายน ๒๕๕๖  

Introduction in Orthopaedics

๐๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖

SFTRInternational Method of Measurement

๐๒ สิงหาคม ๒๕๕๖

Biomechanics of Internal Fixation

๐๖ กันยายน ๒๕๕๖

Implants Failure

๐๔ ตุลาคม ๒๕๕๖

What are Biofilms

๐๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

VTE Prophylaxisin Trauma Patients

๐๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

A-C Separation

๐๓ มกราคม ๒๕๕๗

Problem of Subtrochanteric Fractures

๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

The PIPKIN

๑๐

๐๗ มีนาคม ๒๕๕๗

Fractures of the Ankle

๑๑

๐๔ เมษายน ๒๕๕๗

Calcaneal Fractures

๑๒

๐๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗

Cases Conference

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาออร์โธปิดิกส์ มีกาจัดฝึกปฏิบัติการจากอาจารย์ใหญ่ (Cadaver Workshop) โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศเป็นวิทยากร มีการหมุนเวียนไปปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลเครือข่าย ทำให้สามารถได้รับประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตร
  • เชิญ นายแพทย์ Amir Oron, MD. จาก Attending physician Department of Hand Surgery Kaplan Medical Center Rehovot, Israel บรรยายเรื่อง “Flexor tendon repair : form Kessler suture to the A4 pulley pocket technique” วันที่ 12 กันยายน 2556 ณ ห้องประชุมตึก เจริญ-สมศรีฯ ชั้น 3

5.มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ภาควิชาฯ มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากกระบวนการจัดการความรู้ โดยการสอนที่หอผู้ป่วย และหอผู้ป่วยนอก ใช้ข้อมูลจากส่วนกลาง คณะแพทยศาสตร์ นำผลการประเมินของนิสิตนำไปใช้ในการประเมินคุณภาพของภาควิชาฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอน ต่อไป

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

ภาควิชาฯ จัดกิจกรรมวิชาการในแขนงย่อยต่างๆ โดยระบุวัน เวลา ชัดเจน กิจกรรมที่ภาควิชาฯ จัด ได้แก่

  • Dinner’s Talk เป็นการรับประทานอาหารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ในปี พ.ศ.2556 จัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี ณ ห้องประชุมตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 7
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชาและสถาบันภายนอก เช่น Chula-Lerdsin Conference ทุกๆ วันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน

6.มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

เนื่องจากรายวิชาระดับแพทยศาสตร์บัณฑิตเป็นหลักสูตรร่วม มีการเรียนการสอนในหลายภาควิชาวิชา การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา จึงดำเนินสำรวจโดยใช้แบบ สอบถามของฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ เป็นประจำทุกการศึกษา

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

  • ภาควิชาฯ ใช้แบบประเมิน Online ผ่านระบบ CU-CAS ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนและการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2556 ของหน่วยวิจัยสถาบัน พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เท่ากับ 3.91 จากคะแนนเต็ม 5
  • การประเมินการเรียนรู้ทุกรายวิชา (CU-CAS) จากคะแนนเต็ม 5 ได้ผลการประเมิน ดังนี้

รหัสรายวิชา

รายวิชา

ผลการประเมิน

การสอน

สนับสนุน

พอใจ

3016705

วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางออร์โธปิดิกส์

3.96

4.00

1.99

3016706

ออร์โธปิดิกส์คลินิก 1          

3.78

3.53

3.65

3016707

ออร์โธปิดิกส์หัตถการ 1

3.79

3.58

3.69

3016708

ความผิดปกติและโรคทางออร์โธปิดิกส์        

3.97

3.92

1.97

3016718

โครงการพิเศษ   1 

3.98

3.58

3.78

3016721

จริยธรรมกับเวชปฏิบัติ       

4.00

4.00

4.00

3016709

ออร์โธปิดิกส์คลินิก 2          

4.20

3.80

4.00

3016710

ออร์โธปิดิกส์หัตถการ 2      

4.16

4.00

4.08

3016711

ออร์โธปิดิกส์ก้าวหน้า         

4.20

4.00

4.10

3016715

ศัลยศาสตร์ข้อเทียม

4.10

4.07

4.09

3016719

โครงการพิเศษ   2

3.80

3.80

3.80

3016722

ปฏิบัติการออร์โธปิดิกส์อุบัติเหตุ                                    

4.26

4.20

4.23

3016712

ศัลยศาสตร์มือ       

4.36

4.33

4.35

3016713

ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง  

4.44

4.39

4.42

3016714

ศัลยศาสตร์เนื้องอกที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อ

4.26

4.20

4.23

3016716

ออร์โธปิดิกส์ในเด็กและทารก           

4.23

4.17

4.20

3016717

ออร์โธปิดิกส์เกี่ยวกับกีฬา

4.33

4.39

4.36

3016723

เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับแพทย์ออร์โธปิดิกส์        

4.26

3.78

4.02

3016724

อายุรศาสตร์โรคข้อพื้นฐาน  

4.37

4.50

4.43

 

ค่าเฉลี่ยคุณภาพการสอน

4.13

   
 

ค่าเฉลี่ยสิ่งสนับสนุนการสอน

 

4.01

 
 

ค่าเฉลี่ยดัชนีความพึงพอใจ

   

3.87

7.มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชา

ตามผลการประเมินรายวิชา

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ภาควิชาฯ ได้นำผลการประเมินรายวิชา มีการปรับปรุงการเรียนการสอนของนิสิต โดยมุ่งเน้นหัวข้อที่นิสิตมีความต้องการ เช่น

  • การส่งนิสิตไปปฏิบัติงานนอกสถาบัน
  • การปรับปรุงการเรียนการสอนที่หอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยนอก
  • คิดค้นและจัดสร้างหุ่นเพื่อฝึกทำหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopaedics Chula Education Model)

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

  • จัดสัมมนาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริการ ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2556 ห้องประชุม ท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ ตึก เจริญ-สมศรีฯ ชั้น 7 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรมอิมพีเรียล ภูแก้ว จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ติดตั้งระบบ Finger Scan เพื่อบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนของนิสิต แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
  • นำระบบ Voting System เข้ามาใช้ เพื่อประเมินการเรียนการสอน ในทุกรายวิชา หรือรายวิชาที่ต้องการทราบผลการสอน
  • รหัสรายวิชา 3016712 ศัลยศาสตร์มือ จัดทำหุ่นแขนยาง เพื่อให้นิสิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านฝึกทำหัตถการ
  • รหัสรายวิชา 3016715 ศัลยศาสตร์ข้อเทียม จัดทำหุ่นครึ่งท่อน เพื่อให้นิสิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านฝึกทำหัตถการ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน ปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ทั้งในด้านทรัพยากรและบุคคล
  • ภาควิชาฯ มีการนำผลการประเมินการเรียนการสอนของทุกรายวิชาในปีการศึกษาที่ผ่านมามาพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2556 ได้แผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขา ออร์โธปิดิกส์ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรดังกล่าว

ผลการประเมิน

ตัวบ่งชี้ 2.6

เป้าหมาย * (ข้อ)

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน

7

7

5

หมายเหตุ

       * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ข้อมูลสำหรับปีนี้

เป้าหมาย

 ok บรรลุเป้าหมาย         nok ไม่บรรลุเป้าหมาย

 

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว

5

เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว

7

ข้อมูลสำหรับปีหน้า

เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ)

7

จุดเด่น

  1. มีกิจกรรมฝึกทักษะการทำผ่าตัด (Cadaveric Workshop)   เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านฝึกหัดทำหัตถการ หรือการผ่าตัดที่สำคัญทางออร์โธปิดิกส์ จนเกิดทักษะและประสบการณ์เชิงปฏิบัติในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านเกิดความมั่นใจ ปลอดภัยก่อนให้การรักษาผ่าตัดคนไข้จริงต่อไป
    1. มีระบบการประเมิน Online โดยผ่าน CU-CAS ของมหาวิทยาลัยในการประเมินการเรียนการสอน
    2. มีสถาที่และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
    3. คณาจารย์มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนิสิต แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
    4. มีประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ในทุกรายวิชาของหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต และบัณฑิตศึกษา
    5. มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผลการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
    6. มีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้อง เหมาะสม ทันต่อสภาวการณ์ปัจจุบัน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ สกอ. มหาวิทยาลัย และความต้องการของสังคม
  2. พัฒนาการทำหัตถการของนิสิตและแพทย์ประจำบ้านให้มากขึ้น
  3. จำนวนผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ในบางแขนงวิชามีไม่เพียงพอต่อการเรียนการสอน
  4. ไม่มีงานวิจัยที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยตรง (วิจัยการศึกษา)
  5. การประเมินออนไลน์ผ่านระบบ CU-CAS ของมหาวิทยาลัยนิสิตไม่ค่อยให้ความร่วมมือ

แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป

   แผนการดำเนินงาน

  1. พัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ สกอ. มหาวิทยาลัย และความต้องการของสังคม
  2. มีการเชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติมาร่วมสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
  3. พัฒนาสื่อการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจุบัน
  4. เพิ่มทักษะการทำหัตถการ โดยเฉพาะหัตถการที่สอดคล้องกับความต้องการของแพทยสภาและสังคม
  5. ส่งเสริมให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีการทำวิจัยทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษาให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  6. กระตุ้นให้นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน ทำการประเมิน online ผ่านระบบ CU-CAS ให้มากขึ้น

หลักฐานอ้างอิง

 
Attachments:
File
Download this file (2.6-1-5 กิจกรรมส่งเสริมให้แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนรับผิดชอบต่~.pdf)2.6-1-5 กิจกรรมส่งเสริมให้แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนรับผิดชอบต่~.pdf
Download this file (2.6-1.1 Course Syllabus ฉบับ CU-CAS.pdf)2.6-1.1 Course Syllabus ฉบับ CU-CAS.pdf
Download this file (2.6-1.2 ประกาศแต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน.pdf)2.6-1.2 ประกาศแต่งตั้งกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน.pdf
Download this file (2.6-1.3 กิจกรรมฝึกทักษะการทำผ่าตัด (Cadaveric  Workshop)  ประจำปี พ.ศ.2556.pdf)2.6-1.3 กิจกรรมฝึกทักษะการทำผ่าตัด (Cadaveric Workshop) ประจำปี พ.ศ.2556.pdf
Download this file (2.6-1.4 ประกาศการทำวิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้าน.pdf)2.6-1.4 ประกาศการทำวิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้าน.pdf
Download this file (2.6-1.6 รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับแพทย์ประจำบ้าน.pdf)2.6-1.6 รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับแพทย์ประจำบ้าน.pdf
Download this file (2.6-1.7 รายงานข้อมูลการดำเนินงานของหลักสูตร สมอ 07.pdf)2.6-1.7 รายงานข้อมูลการดำเนินงานของหลักสูตร สมอ 07.pdf
Download this file (2.6-2.1 คู่มือปฏิบัติ Log Book.pdf)2.6-2.1 คู่มือปฏิบัติ Log Book.pdf
Download this file (2.6-2.2 มคอ.2 ของหลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขา ออร์โธปิดิกส์.pdf)2.6-2.2 มคอ.2 ของหลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขา ออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (2.6-3.1 ประมวลรายวิชา รายวิชา 3000689 ทักษะออร์โธปิดิกส์.pdf)2.6-3.1 ประมวลรายวิชา รายวิชา 3000689 ทักษะออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (2.6-3.2 ประมวลรายวิชา รายวิชา 3000690 เวชปฏิบัติออร์โธปิดิกส์.pdf)2.6-3.2 ประมวลรายวิชา รายวิชา 3000690 เวชปฏิบัติออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (2.6-3.3 Log Book เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียน.pdf)2.6-3.3 Log Book เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียน.pdf
Download this file (2.6-3.4 โครงการพิเศษ 1 และ 2 (รหัสรายวิชา 3016718  จำนวน 3 หน่วยกิต และรหัส~.pdf)2.6-3.4 โครงการพิเศษ 1 และ 2 (รหัสรายวิชา 3016718 จำนวน 3 หน่วยกิต และรหัส~.pdf
Download this file (2.6-4.1 ตารางการปฏิบัติงานสถาบันสมทบของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6.pdf)2.6-4.1 ตารางการปฏิบัติงานสถาบันสมทบของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6.pdf
Download this file (2.6-4.2 ตารางการบรรยายของผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพจากภายนอก อ.สิทธิพร อรพิน~.pdf)2.6-4.2 ตารางการบรรยายของผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพจากภายนอก อ.สิทธิพร อรพิน~.pdf
Download this file (2.6-4.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขา~.pdf)2.6-4.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขา~.pdf
Download this file (2.6-4.4 คู่มือแพทย์ประจำบ้าน.pdf)2.6-4.4 คู่มือแพทย์ประจำบ้าน.pdf
Download this file (2.6-4.5 ตารางการเรียนการสอนฉบับปรับปรุง ของแพทย์ประจำบ้าน พ.ศ.2556-2557.pdf)2.6-4.5 ตารางการเรียนการสอนฉบับปรับปรุง ของแพทย์ประจำบ้าน พ.ศ.2556-2557.pdf
Download this file (2.6-4.6 ประกาศ Inter hospital Conferences วันที่ 11 กรกฏาคม 2556.PDF)2.6-4.6 ประกาศ Inter hospital Conferences วันที่ 11 กรกฏาคม 2556.PDF
Download this file (2.6-4.7 ประกาศ นายแพทย์ Amir Oron, MD. จาก Attending physician Department o~.PDF)2.6-4.7 ประกาศ นายแพทย์ Amir Oron, MD. จาก Attending physician Department o~.PDF
Download this file (2.6-6.1 รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ เ~.pdf)2.6-6.1 รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ เ~.pdf
Download this file (2.6-6.2 แบบประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ Online ใน web ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทย~.pdf)2.6-6.2 แบบประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ Online ใน web ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทย~.pdf
Download this file (2.6-6.3 สรุปผลการประเมิน CU-CAS ประจำปีการศึกษา 2556.pdf)2.6-6.3 สรุปผลการประเมิน CU-CAS ประจำปีการศึกษา 2556.pdf
Download this file (2.6-6.4 ผลการประเมินความพึงพอใจระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต ประจำปี พ.ศ.2556.pdf)2.6-6.4 ผลการประเมินความพึงพอใจระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต ประจำปี พ.ศ.2556.pdf
Download this file (2.6-7.1 ภาพหุ่นจำลองมือเพื่อฝึกหัตถการ การเรียนการสอน.pdf)2.6-7.1 ภาพหุ่นจำลองมือเพื่อฝึกหัตถการ การเรียนการสอน.pdf
Download this file (2.6-7.2 รายงานการประชุมสัมมนาภาควิชาฯ ประจำปี พ.ศ.2556.pdf)2.6-7.2 รายงานการประชุมสัมมนาภาควิชาฯ ประจำปี พ.ศ.2556.pdf
Download this file (2.6-7.3 เครื่อง Finger scan เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน.pdf)2.6-7.3 เครื่อง Finger scan เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน.pdf
Download this file (2.6-7.4 ระบบ Voting System เข้ามาใช้ เพื่อประเมินการเรียนการสอน.pdf)2.6-7.4 ระบบ Voting System เข้ามาใช้ เพื่อประเมินการเรียนการสอน.pdf
Download this file (2.6-7.5 หุ่นเพื่อฝึกทำหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopaedics Chula Education~.pdf)2.6-7.5 หุ่นเพื่อฝึกทำหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopaedics Chula Education~.pdf
Download this file (2.6-7.6 แผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางวิ~.pdf)2.6-7.6 แผนที่กระจายความรับผิดชอบของรายวิชาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางวิ~.pdf
Download this file (2.6-7.7 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรดังกล่าว.pdf)2.6-7.7 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรดังกล่าว.pdf