ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 : ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 : ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ |
||||||||||||||||||
หมายเหตุ: 1. ในเกณฑ์มาตรฐานข้อ 1 ให้นับรวม notebook และ mobile device ต่างๆ ของนักศึกษาที่มีการลงทะเบียนการใช้ wifi กับสถาบันด้วย 2. การคิดจำนวน FTES ให้นำจำนวน FTES ของแต่ละระดับการศึกษารวมเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเทียบเป็น FTES ของระดับปริญญาตรี นักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (Full Time Equivalent Student: ETES) หมายถึง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนตามเกณฑ์จำนวนหน่วยกิตมาตรฐานของการลงทะเบียน ดังนี้ ระบบทวิภาค - สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี : ลงทะเบียน 36 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (18 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา) - สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งโครงการปกติและโครงการภาคพิเศษ : ลงทะเบียน 24 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (12 หน่วยกิต ต่อภาคการศึกษาปกติ) ระบบไตรภาค - สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี : ลงทะเบียน 39 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (13 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา) - สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา : ลงทะเบียน 27 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (9 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา) ขั้นตอนการคำนวณค่า FTES มีดังนี้ 1) คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours: SCH) คือ ผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวนหน่วยกิตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนทุกรายวิชาตลอดปีการศึกษา รวบรวมหลังจากนักศึกษาลงทะเบียนแล้วเสร็จ (หมดกำหนดเวลาการเพิ่ม – ถอน) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้ เกณฑ์การประเมิน: |
||||||||||||||||||
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
||||||||||||||
ดำเนินการ 1 ข้อ |
ดำเนินการ 2 หรือ 3 ข้อ |
ดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ |
ดำเนินการ 6 ข้อ |
ดำเนินการ 7 ข้อ |
||||||||||||||
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556 (ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน) |
||||||||||||||||||
1.มีการจัดการหรือจัดบริการเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในอัตราไม่สูงกว่า 8 FTES ต่อเครื่อง |
||||||||||||||||||
คณะฯ มีการจัดบริการอำนวยความสะดวกด้านเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้นิสิตใช้งาน จำนวน 221 เครื่อง ซึ่งติดตั้งไว้ที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 8 และห้องเรียนย่อย ชั้น 2, 3 ตึก อปร., อาคารแพทยพัฒน์ และอาคารอานันทมหิดล หอสมุด นอกจากนี้ มีการจัดการระบบ Network ผ่านจุดเชื่อมต่อ Lan และผ่านระบบ Wi-Fi โดยนิสิตได้ลงทะเบียนใช้ Wi-Fi ผ่าน Notebook และ Mobile Device ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 2,261 เครื่อง (นิสิตแพทย์ 6 ชั้นปี) ดังนั้น (FTES 2,889.90 ¸ 2,261 = 1.278 FTFS ต่อเครื่อง) คิดเป็นอัตราการบริการคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตไม่สูงกว่า 8 FTES ต่อเครื่อง (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี))
|
||||||||||||||||||
2.มีบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีการฝึกอบรมการใช้งานแก่นักศึกษาทุกปีการศึกษา |
||||||||||||||||||
คณะฯ มีบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 2.1 ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2557) 2.2.1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอสมุดของคณะแพทยศาสตร์ เปิดบริการเปิดทุกวันยกเว้นวันหยุดสงกรานต์และวันหยุดปีใหม่ โดยมีเวลาทำการปกติ 6 เดือน และเวลาขยายเวลาใกล้สอบ 6 เดือน ดังนี้ |
||||||||||||||||||
เวลาทำการปกติ |
เวลาขยายเวลาใกล้สอบ |
วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดพิเศษ |
||||||||||||||||
จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-22.00 น. |
จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-24.00 น. |
09.00 – 17.00 น. |
||||||||||||||||
(1) หนังสือ ตำราแพทย์ภาษาไทย /อังกฤษ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย จำนวน 46,771 เล่ม (มีการจำหน่ายหนังสือเก่าออก) (2)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) 50,000 ชื่อเรื่อง (3)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ได้แก่ ซีดี 306 แผ่น เทปเสียง 3,357 ตลับ วิดีทัศน์ 801 ตลับ (4)วารสารการแพทย์ภาษาไทยรวม 361 ชื่อเรื่อง (5)วารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษฉบับพิมพ์ 943 ชื่อเรื่อง (6)วารสารออนไลน์ (e-journals) 4,130 ชื่อเรื่อง (7)วารสารออนไลน์ฉบับย้อนหลัง (e-journals Back File) 1,067 ชื่อเรื่อง (8)ฐานข้อมูลต่างประเทศ 7 ฐานข้อมูลคือ Best Practice, Clinical Key, Cochrane Library, Lippincott Nursing Procedures & Skills, Micromedex, Springer Protocol และ Up To Date (9)ฐานข้อมูลที่หอสมุดจัดทำ และให้บริการบนอินเทอร์เน็ต 6 ฐานข้อมูล คือ 1.ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทยทางการแพทย์ (Thai Index Medicus) รวบรวมบรรณานุกรม พร้อมบทคัดย่อจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษาไทยที่เลือกสรรแล้วมากกว่า 200 ชื่อเรื่อง ตั้งแต่ปีปัจจุบันย้อนหลังไปจนถึง พ.ศ. 2461 (97,386 ระเบียน) 2.ฐานข้อมูลผลงานคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (RES) รวบรวมบรรณานุกรม ผลงานคณาจารย์ที่เผยแพร่ในหนังสือ วารสาร การประชุมวิชาการ และรายงานการวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึงปัจจุบัน (12,277 ระเบียน) 3.ฐานข้อมูลสหรายชื่อวารสาร (UNIO) รวบรวมรายชื่อวารสาร ที่ห้องสมุดในประเทศไทย รวมทั้งหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดซื้อไว้ให้บริการมากกว่า 16,000 ชื่อเรื่อง (16,946 ระเบียน) 4.ฐานข้อมูล Main Database ร่วมมือกับศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบันทึกรายชื่อหนังสือ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ที่มีให้บริการในหอสมุด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( http://library.car.chula.ac.th) 5.ฐานข้อมูลรายชื่อโสตทัศนวัสดุที่มีให้บริการในหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (AUDI) 6.ฐานข้อมูลรายชื่อสิ่งพิมพ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO Publication) ที่มีให้บริการในห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ ฐานข้อมูลลำดับที่ 5 – 6 อยู่ระหว่างถ่ายโอนเข้าฐาน Main Database ของศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (10) ฐานข้อมูลที่จัดซื้อโดยศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Reference Databases) และสำนักงานการอุดมศึกษา (ThaiLIS) หอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลที่จัดซื้อโดย 2 หน่วยงานข้างต้น เฉพาะที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ จำนวน 15 ฐานข้อมูล บริการหอสมุดผ่านระบบเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมงที่ http://library.md.chula.ac.th/inde.php 2.2 บริการบทเรียนเผยแพร่แบบออนไลน์ที่ http://e-learning.md.chula.ac.th มีจำนวน 692 บทเรียน ประกอบด้วย VDO ภาควิชาอายุรศาสตร์ 91 เรื่อง และบทเรียนซึ่งแยกตามชั้นปีจำนวน 601 เรื่อง 2.3 จัดฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูลและการเขียนรายการอ้างอิง โดยใช้โปรแกรม Endnote ให้นิสิตแพทย์ทุกปีการศึกษา ห้องสมุดจัดอบรมการใช้บริการของห้องสมุดสำหรับบุคลากรและนิสิตเป็นประจำ ปีละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ภาควิชาสนับสนุนให้นิสิตเข้ารับการอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการสืบค้นข้อมูลที่จัดโดยคณะฯ |
||||||||||||||||||
3.มีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา อย่างน้อยในด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การศึกษา และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในระบบไร้สาย |
||||||||||||||||||
คณะฯ มีการบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา ด้านห้องเรียนมีอาคารเรียนจำนวน 3 อาคาร คือ
1.1 ห้องเรียนขนาด 500 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง 1.7 ห้องเรียนขนาด 60 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 1.2 ห้องเรียนขนาด 360 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 1.8 ห้องเรียนขนาด 50 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 1.3 ห้องเรียนขนาด 222 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง 1.9 ห้องเรียนขนาด 30 ที่นั่ง จำนวน 8 ห้อง 1.4 ห้องเรียนขนาด 100 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 1.10 ห้องเรียนขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 17 ห้อง 1.5 ห้องเรียนขนาด 80 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง 1.11 ห้องแล็ปขนาด 30 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 1.6 ห้องเรียนขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง
2.1 ห้องเรียนขนาด 222 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 2.4 ห้องเรียนขนาด 50 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 2.2 ห้องเรียนขนาด 60 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 2.5 ห้องเรียนขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง 2.3 ห้องเรียนขนาด 55 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง 2.6 ห้องเรียนขนาด 18 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง
3.1 ห้องเรียนขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 3.4 ห้องเรียนขนาด 36 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 3.2 ห้องเรียนขนาด 81 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง 3.5 ห้องเรียนขนาด 30 ที่นั่ง จำนวน 3 ห้อง
คณะฯ มีห้องปฏิบัติการสำหรับนิสิตปรีคลินิกที่อาคารแพทยพัฒน์ ห้อง 304 และ 305 และ 506 และนอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาทักษะทางคลินิก (Clinical Skill Center) จัดบริการหุ่นสำรองสำหรับให้นิสิตฝึกหัตถการด้วยตนเองเปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 08.00 - 20.00 น. |
||||||||||||||||||
(ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ภาควิชามีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียน การสอน ดังนี้ - มีห้องประชุม จำนวน 2 ห้องเรียน 2 ห้อง ตั้งอยู่ที่ตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 2, 3 และ ชั้น 7 - ห้องสมุดภาควิชา ตั้งอยู่ที่ตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 3 - ห้องปฏิบัติการ ตั้งอยู่ที่ตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น ชั้น 7 และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ตึกแพทยพัฒน์ ชั้น 4 - จุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 2, 3 และ ชั้น 7 - ห้องคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ตั้งอยู่ที่ตึกเจริญ-สมศรีฯ ชั้น 2 - หุ่นจำลองสำหรับให้นิสิตฝึกหัตรการด้วยตนเอง จำนวน 5 หุ่น |
||||||||||||||||||
4.มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ อย่างน้อยในด้านงานทะเบียนนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การบริการอนามัยและการรักษาพยาบาล การจัดการหรือจัดบริการด้านอาหาร และสนามกีฬา |
||||||||||||||||||
คณะฯ มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นดังนี้ 4.1 งานทะเบียนนิสิตผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คณะฯ จัดให้มีคอมพิวเตอร์ 210 เครื่อง ในการอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต 4.2 การบริการอนามัยและรักษาพยาบาล นิสิตสามารถใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 9 ชั้น 2 และที่ แผนกเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ตึก ภปร. ชั้น 2 4.3 การบริการด้านอาหาร - มีร้านอาหารสำหรับบริการนิสิตและบุคลากรอยู่จำนวน 5 แห่ง คือ โรงอาหารตึกไผ่สิงโต, โรงอาหารตึก อปร., ศูนย์อาหารชั้นล่าง อาคารจอดรถ, ตึก สก. ชั้น 11, หลังตึกธนาคารไทยพาณิชย์ และห้องอาหารสวัสดิการ แผนกโภชนวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 4.4 การบริการด้านกีฬาและออกกำลังกาย คือ - สนามแบดมินตัน 1 สนาม - สนามบาสเก็ตบอล 1 สนาม - สนามฟุตซอล 1 สนาม - สนามกีฬาอเนกประสงค์ ชั้น 14 อาคารหอพัก - สถานที่ออกกำลังกาย (Wellness center ) ชั้น 6 ตึก อปร. (ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) 1. ภาควิชามีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ดังนี้
|
||||||||||||||||||
5.มีระบบสาธารณูปโภคและรักษาความปลอดภัยของอาคารตลอดจนบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยในเรื่องประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดของเสีย การจัดการขยะ รวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในบริเวณอาคารต่างๆ โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||||||||||
คณะฯ มีระบบและกลไกในกการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัยของอาคารตลอดจนบริเวณโดยรอบ ทั้ง ประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดของเสีย การจัดการขยะรวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในบริเวณอาคารต่างๆ ที่เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย รวมทั้งตามมาตรฐานของระบบ HA ซึ่งในส่วนของคณะฯ นั้นรับผิดชอบดูแลโดยหน่วยอาคารและสถานที่ ฝ่ายบริหาร โดย
|
||||||||||||||||||
วัน/เดือน/ปี |
จำนวนลิตร |
จำนวนถัง |
||||||||||||||||
26 มิถุนายน 2556 |
20 |
50 |
||||||||||||||||
30 กรกฎาคม 2556 |
40 |
80 |
||||||||||||||||
28 สิงหาคม 2556 |
45 |
130 |
||||||||||||||||
27 กันยายน 2556 |
20 |
45 |
||||||||||||||||
30 ตุลาคม 2556 |
35 |
83 |
||||||||||||||||
27 พฤศจิกายน 2556 |
45 |
120 |
||||||||||||||||
27 ธันวาคม 2556 |
40 |
80 |
||||||||||||||||
28 มกราคม 2557 |
10 |
70 |
||||||||||||||||
รวม |
255 |
658 |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
เดือน |
ตึกอานันทมหิดล |
ตึกแพทยพัฒน์ |
อาคาร อปร |
|||||||||||||||
มิถุนายน |
16 มิถุนายน 2556 |
16 มิถุนายน 2556 |
16 มิถุนายน 2556 |
|||||||||||||||
กรกฎาคม |
21 กรกฏาคม 2556 |
21 กรกฏาคม 2556 |
21 กรกฏาคม 2556 |
|||||||||||||||
สิงหาคม |
18 สิงหาคม 2556 |
18 สิงหาคม 2556 |
18 สิงหาคม 2556 |
|||||||||||||||
กันยายน |
15 กันยายน 2556 |
15 กันยายน 2556 |
15 กันยายน 2556 |
|||||||||||||||
ตุลาคม |
20 ตุลาคม 2556 |
20 ตุลาคม 2556 |
20 ตุลาคม 2556 |
|||||||||||||||
พฤศจิกายน |
17 พฤศจิกายน 2556 |
17 พฤศจิกายน 2556 |
17 พฤศจิกายน 2556 |
|||||||||||||||
ธันวาคม |
15 ธันวาคม 2556 |
15 ธันวาคม 2556 |
15 ธันวาคม 2556 |
|||||||||||||||
มกราคม |
19 มกราคม 2556 |
19 มกราคม 2556 |
19 มกราคม 2556 |
|||||||||||||||
กุมภาพันธ์ |
16 กุมภาพันธ์ 2556 |
16 กุมภาพันธ์ 2556 |
16 กุมภาพันธ์ 2556 |
|||||||||||||||
มีนาคม |
16 มีนาคม 2556 |
16 มีนาคม 2556 |
16 มีนาคม 2556 |
|||||||||||||||
เมษายน |
20 เมษายน 2556 |
20 เมษายน 2556 |
20 เมษายน 2556 |
|||||||||||||||
พฤษภาคม |
18 พฤษภาคม 2556 |
18 พฤษภาคม 2556 |
18 พฤษภาคม 2556 |
|||||||||||||||
(ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ภาควิชามีระบบสาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัย โดย
|
||||||||||||||||||
6.มีผลการประเมินคุณภาพของบริการในข้อ 2 – 5 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 |
||||||||||||||||||
ในทุกกิจกรรมและโครงงานจะมีการประเมินผลความพึงพอใจในทุกครั้ง สำหรับการบริการของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ จะมีประเมินความพึงพอใจในการให้บริการจากทุกคนที่มารับบริการ และมีการรายงานผลการประเมินทุกไตรมาส โดยหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้รายงานให้ฝ่ายบริหารทราบ ในการประชุมของฝ่ายบริหาร ที่มีขึ้นทุกเดือน ซึ่งมีค่าผลประเมินสูงกว่า 3.5 ในทุกหน่วยงาน แต่อย่างไรก้อตาม ก้อมีข้อเสนอแนะ และมีการพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะสม่ำเสมอ ในภาพรวมระดับคณะฯ มีหน่วยวิจัยสถาบันทำการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ประจำบ้านและนิสิตปริญญาโทปริญญาเอก ให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2556 มีผลการประเมินอยู่ระหว่าง 3.64-3.78 จากคะแนนเต็ม 5.00 โดยมีการสำรวจจากเกณฑ์การประเมินข้อ 2, 3, 4, 5 ของตัวชี้วัดที่ 2.5 นอกจากนี้ คณะฯ มีผลการประเมินคุณภาพของการบริการ ดังนี้
(ภาควิชา กรอกข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)) ผลการประเมินคุณภาพของการบริการของภาควิชาฯ จากหน่วยวิจัยสถาบัน ดังนี้
|
||||||||||||||||||
7.มีการนำผลการประเมินคุณภาพในข้อ 6 มาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดบริการด้านกายภาพที่สนองความต้องการของผู้รับบริการ |
||||||||||||||||||
ภาควิชาฯ มีแผนจะนำผลการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ประจำบ้าน ประจำปีการศึกษา 2556 เข้าหารือในที่ประชุมสัมมนาภาควิชา ประจำปี 2557 เพื่อพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาทุกองค์ประกอบเพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้นในปีถัดไป |
||||||||||||||||||
ผลการประเมิน |
||||||||||||||||||
ตัวบ่งชี้ 2.5 |
เป้าหมาย * (ข้อ) |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนการประเมิน |
|||||||||||||||
ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ |
7 |
7 |
5 |
|||||||||||||||
หมายเหตุ * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน |
||||||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีนี้ |
เป้าหมาย |
|
||||||||||||||||
คะแนนการประเมินปีที่แล้ว |
5 |
|||||||||||||||||
เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว |
5 |
|||||||||||||||||
ข้อมูลสำหรับปีหน้า |
เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ) |
7 |
||||||||||||||||
จุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนา
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป แผนการดำเนินงาน 1.พัฒนาห้องพักแพทย์ประจำบ้านให้เหมาะสม และปลอดภัย 2.ปรับปรุง Computer ให้ทันสมัย 3.ปรับปรุงระบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน 4.ปรับปรุงระบบการประเมินการเรียนการสอนให้ทันสมัย หลักฐานอ้างอิง 2.5-2-1 Website ภาควิชาฯ 2.5-2-2 สื่อการเรียนการสอนภาควิชาฯ 2.5-2-3 ระบบ Internet , WIFI ภาควิชาฯ 2.5-3-2 ระบบฐานข้อมูล
|