ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

ดำเนินการ 1 ข้อ

ดำเนินการ 2 หรือ 3 ข้อ

ดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ หรือ 6 ข้อ

ดำเนินการ 7 หรือ 8 ข้อ

ดำเนินการ 9 ข้อ

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2556

(ให้รายงานสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในรอบปีการศึกษา ตามที่เกณฑ์กำหนด โดยระบุกิจกรรม บุคคล วัน เวลา สถานที่ให้ชัดเจน)

1.มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

             คณะแพทยศาสตร์ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสม   และสอดคล้องกับพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   โดยมหาวิทยาลัยได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 14 ปีแล้ว ซึ่งเป็นระบบที่เน้นการเรียนการสอนเป็นพันธกิจหลัก แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

             - ระยะที่ 1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมหาวิทยาลัย ได้กำหนดนโยบายและแผนการประกันคุณภาพมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และประกาศให้ทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานประกันคุณภาพ CU-QA 84 Standards และ CU-QA 84 Index (34 Indicators) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2546 ตามลำดับ   โดยระบบและกลไกดังกล่าวหน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคู่มือการทำงานและเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สามารถครอบคลุมทั้งปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการบริหารจัดการศึกษา (process) และผลผลิต/ผลลัพธ์ (output/outcome) และกำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการตรวจสอบ/ตรวจประเมินตนเองปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อนำผลมาปรับปรุงพัฒนาตามกระบวนการ Management review

             - ระยะที่ 2 มหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบ กลไก และแนวคิดการประกันคุณภาพเพิ่มเติมต่อยอดจากระบบ CU-QA84 ในชื่อ CU-QualityModel ตามแนวคิด PQRS (P:Performance   Q:Quality R : Risk S:Stability) ที่มุ่งต่อยอดการประกันคุณภาพระบบสู่การประกันคุณภาพเนื้องาน เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังคงกำหนดให้หน่วยงานทุกระดับของมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตาม และต้องดำเนินการตรวจฯ เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในส่วนของคณะ/ภาควิชานั้นยังกำหนดให้นำระบบ CU-CQA (Curriculum Quality Assurance) ไปใช้ควบคู่กับองค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต โดยใช้แนวคิด PQRS

            - ระยะที่ 3 มีการเสนอแผนยุทธศาสตร์การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย   ต่อสภามหาวิทยาลัยและได้รับการอนุมัติให้เป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการของการของการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย และเริ่มนำไปปฏิบัติใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้ก้าวสู่การบริหารคุณภาพเพื่อการบริหารองค์กร

             สำหรับปีการศึกษา 2556 คณะแพทยศาสตร์ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ของคณะแพทยศาสตร์ และสถาบันร่วมผลิตแพทย์เพิ่ม ทั้ง 3 แห่ง ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. และ สมศ. เป็นหลัก และดำเนินการดังต่อไปนี้

                1.ประชุมสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถาบันผลิตแพทย์เพิ่ม ทั้ง 3 แห่ง ปีการศึกษา 2555 และรับฟังการการเตรียมการ

ตรวจประเมินคุณภาพฯ   ปีการศึกษา 2556 ในพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

                2. ฝึกอบรม ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2556

สำหรับเลขานุการ QA และบุคลากรสายสบับสนุน (IQA 1789, 23, 456) ในวันที่ 17, 19-20 กุมภาพันธ์ 2557

                3. ฝึกอบรม ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2556

สำหรับอาจารย์ (IQA 1789, 23, 456) ในวันที่ 17, 19-20 มีนาคม 2557

                4. ฝึกอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)” ปีการศึกษา 2556สถาบันร่วมผลิตแพทย์เพิ่ม ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ กองแพทยศาสตรศึกษา รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. (พฤหัสบดีที่ 3 - 4 เมษายน 2557), ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ชลบุรี (พุธที่ 9-10 เมษายน 2557), ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี (พฤหัสบดีที่ 17 - 18 เมษายน 2557)

                5.ฝึกอบรมเลขาฯ ผู้ตรวจประเมิน...มืออาชีพ?”ในจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557

                6. ฝึกอบรม   "ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (พุธที่ 14 - พฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557), ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.พระปกเกล้าฯ (จันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2557), ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ชลบุรี (อังคารที่ 20 พฤษภาคม 2557), กองแพทยศาสตรศึกษา รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. (พฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2557)

                7. ภาควิชาจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ระดับภาควิชา

                8. คณบดี   แต่งตั้งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม "ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน" เป็นคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของคณะฯ

                9. ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับภาควิชา ปีการศึกษา 2556 ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (วันที่ 29-30 พ.ค.2557, 2, 4-6, 11-12, 16, 18-19, 23, 25-26, 30 มิ.ย.2557)

             10. คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพฯ (IQA Report) นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และให้ข้อมูลย้อนกลับหัวหน้าภาควิชา   และกรรมการภาควิชาที่ถูกตรวจประเมินทราบผลการตรวจประเมิน

2.มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน

ภาควิชาฯ มีการกำหนดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในพันธกิจหลักของภาควิชา ดังนี้

1. ให้ความรู้แก่นิสิตแพทย์และบัณฑิตศึกษาด้านออร์โธปิดิกส์ตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิผล

2. ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ตามเกณฑ์มาตรฐาน

3. ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านออร์โธปิดิกส์อย่างครบวงจร

4. ค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและชี้นำสังคม

5. ให้บริการวิชาการทางด้านออร์โธปิดิกส์แก่หน่วยงานและประชาชน

6. สนับสนุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่นิสิตแพทย์ แพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ

7. จัดสภาพแวดล้อมที่ดี สะดวกและปลอดภัยแก่บุคลากรและผู้รับบริการ

8. ตรวจสอบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ภาควิชาฯ ได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และกำหนดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในพันธกิจหลักของภาควิชาฯ ตลอดจนมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับบุคลากรภายในภาควิชาฯ

3.มีการกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

ตัวบ่งชี้ของภาควิชาฯ อ้างอิงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดและประเมินผลของคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ระดับพื้นฐานสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบันและอัตลักษณ์ของภาควิชาฯ

4.มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกำหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดใน CHE QA Online และ 3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน  

ภาควิชาฯ ได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย

1) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ

2) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อรองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

3) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของภาควิชาฯ โดยดำเนินการ ดังนี้

ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาคุณภาพออกเป็น 2 ฝ่าย คือ คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา (EQT) และคณะกรรมการประกันคุณภาพการบริการ (SQT) โดยกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน มีทีมงานร่วมในบุคลากรในทุกระดับชั้น เพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งทางด้านงารการเรียนการสอนและงานบริการ มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองทุกปี

4) มีการรายงานการประกันคุณภาพในส่วนของการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ต่อราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ทุกๆ 5 ปี และมีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงตลอดเวลา

5.มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

มีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

  1. 1. นำระบบ Finger Scan มาใช้เพื่อบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
  2. นำระบบ Voiting System มาใช้เพื่อการประเมินการเรียนการสอน
  3. จัดสร้างหุ่นเพื่อการเรียนการสอน
  4. จัดหาอุปกรณ์พื้นฐานของการเรียนการสอนแบบเสมือนจริง (Cadaver Study)
  5. จัดทำ CD สื่อการสอน
  6. ทำ Wetsite สื่อการสอน และความรู้สู่ประชาชนทั่วไป

6.มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ

  • ภาควิชาฯ มีระบบสารสนเทศเพื่อช่วยจัดเก็บข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพซึ่งภาควิชาฯ ได้ดำเนินการสร้างขึ้นเพื่อใช้เอง ทำให้ง่ายต่อการค้นหา รวบรวม และเขียนรายงานการประกันคุณภาพประจำปี
  • ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลตัวชี้วัดและประเมินผล (KPI) ซึ่งดำเนินการและดูแลโดยฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยภาควิชาฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพนี้ได้ โดยมีผู้รับผิดชอบซึ่งจะมีรหัสผ่าน ของแต่ละภาควิชา ทำให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ

7.มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน

  • นิสิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ได้ส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาทุกครั้ง โดยภาควิชาฯ จะจัดตารางการเข้ารับการสัมภาษณ์จากผู้ตรวจเยี่ยมในทุกๆ ครั้งของการตรวจประเมิน เช่น การตรวจประเมินภายใน การตรวจประเมินสถาบันฝึกอบรม
  • นิสิตแพทย์และนิสิตบัณฑิตศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการร่วมประเมินในส่วนต่างๆ เพื่อให้ภาควิชาสามารถนำไปพัฒนาได้ ได้แก่
  1. การประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ CUCAS ในทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้ (อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาและฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญาเป็นผู้ดูแล)
  2. การประเมินหลักสูตร ป.บัณฑิตชั้นสูงที่เรียนเมื่อนิสิตเรียนจบหลักสูตร (ข้อมูลจากฝ่ายบัณฑิตศึกษา)
  3. การประเมินความพึงพอใจของนิสิต (ข้อมูลจากหน่วยวิจัยสถาบัน)

นอกจากนี้ผู้ใช้บัณฑิตก็มีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาโดยการร่วมประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต (ข้อมูลจากฝ่ายบัณฑิตศึกษา)

8.มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน

ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลียนเรียนรู้ โดยบุคลากรจากภาควิชาฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในทุกๆ ครั้ง ทั้งในแง่ผู้รับฟังและผู้นำเสนอ ภาควิชาฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้

  • การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)” ครั้งที่ 1 ในวันที่ 17 มีนาคม 2557 ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มีนาคม 2557 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 20 มีนาคม 2557
  • การฝึกอบรม “เลขาฯ ผู้ตรวจประเมิน...มืออาชีพ?” ในวันที่ 9 ตุลาคม 2557

9.มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์

ภาควิชาฯ ได้ดำเนินการในระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบของคณะแพทยศาสตร์ อันสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ กำหนดแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ชัดเจนในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทำคู่มือด้านการประกันคุณภาพ จัดอบรมการเขียนรายงาน QA จัดอบรมเลขาฯ มืออาชีพ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจประเมินภายในประจำปี ทำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาควิชาฯ อื่นๆ และนำความโดดเด่นของภาควิชาต่าง นำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป

ผลการประเมิน

ตัวบ่งชี้ 9.1

เป้าหมาย * (ข้อ)

ผลการดำเนินงาน

คะแนนการประเมิน

ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

9

9

5

หมายเหตุ

       * ให้ระบุค่าเป็นจำนวนข้อที่หน่วยงานได้ตามเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ข้อมูลสำหรับปีนี้

เป้าหมาย

ok   บรรลุเป้าหมาย            nok ไม่บรรลุเป้าหมาย

 

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว

5

เป้าหมายที่ตั้งไว้ปีที่แล้ว

9

ข้อมูลสำหรับปีหน้า

เป้าหมายปีต่อไป (ระบุเป็นข้อ)

9

จุดเด่น

  1. มีระบบและกลไกประกันคุณภาพตามข้อกำหนดของสภามหาวิทยาลัยและ สกอ.
  2. หัวหน้าภาควิชาฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. อาจารย์ในภาควิชาฯ ได้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

  1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและกำหนดหมวดหมู่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกด้าน
  2. การนำผลการดำเนินงานของภาควิชาฯ ไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อสะท้อนถึงศัลยภาพของภาควิชาฯ

แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป

    แผนการดำเนินงาน

  1. ดำเนินการจัดทำฐานข้อมมูล On line โดยแบ่งหมวดหมู่ของฐานข้อมูลให้สามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นระบบเดียวกัน

หลักฐานอ้างอิง


.....
Attachments:
File
Download this file (9.1-1.1 ระบบประกันคุณภาพหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.pdf)9.1-1.1 ระบบประกันคุณภาพหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.pdf
Download this file (9.1-1.2 คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ.2553.pdf)9.1-1.2 คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ.2553.pdf
Download this file (9.1-2.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสต~.pdf)9.1-2.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสต~.pdf
Download this file (9.1-2.2 รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report  SAR) ประจำปี 2555.pdf)9.1-2.2 รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report SAR) ประจำปี 2555.pdf
Download this file (9.1-3.1 พันธกิจของภาควิชาออร์โธปิดิกส์.pdf)9.1-3.1 พันธกิจของภาควิชาออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (9.1-3.2 แผนผังองค์กร กำหนดฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ชัด~.pdf)9.1-3.2 แผนผังองค์กร กำหนดฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ชัด~.pdf
Download this file (9.1-4.1 รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report  SAR) ประจำปี 2555.pdf)9.1-4.1 รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report SAR) ประจำปี 2555.pdf
Download this file (9.1-6.1 ฐานข้อมูลตัวชี้วัดและประเมินผล (KPI) ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา.pdf)9.1-6.1 ฐานข้อมูลตัวชี้วัดและประเมินผล (KPI) ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา.pdf
Download this file (9.1-7.1 กำหนดการการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์.pdf)9.1-7.1 กำหนดการการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (9.1-7.2 รายงานการตรวจประเมินสถาบันฝึกอบรม  ออร์โธปิดิกส์.pdf)9.1-7.2 รายงานการตรวจประเมินสถาบันฝึกอบรม ออร์โธปิดิกส์.pdf
Download this file (9.1-8.1 บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 แ~.pdf)9.1-8.1 บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 แ~.pdf
Download this file (9.1-9.1_คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา_ของคณะแพทยศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.pdf)9.1-9.1_คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา_ของคณะแพทยศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.pdf